อุทธรณ์ทำไม ทำไมต้องอุทธรณ์

สรุปประเด็นสำคัญวงร่วมแลกเปลี่ยน “อุทธรณ์ทำไม ทำไมต้องอุทธรณ์ วงวิพากษ์นโยบายมลพิษทางอากาศหลังคำพิพากษาศาลปกครอง”

นำสนทนาโดย
-อ.ไพสิฐ พาณิชย์กุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกฎหมาย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-ศ.ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ ผู้อำนวยศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ
-คุณนิติพล ผิวเหมาะ ประธานอนุกรรมาธิการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองและมลพิษทางอากาศ
-คุณธารา บัวคำศรี ผู้อำนายการกรีนพีซ ประเทศไทย
-คุณบัณรส บัวคลี่ สภาลมหายใจเชียงใหม่  

สรุปประเด็นสำคัญ

อ.ไพสิฐ พาณิชย์กุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกฎหมาย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  • กรณีมีคำสั่งศาลปกครองที่มีคำสั่งให้ออกประกาศเขตควบคุมมลพิษพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ นับเป็นครั้งประวัติศาสตร์ เนื่องจากมีการพิพากษาที่ใช้เวลาไม่นาน เนื่องจากศาลได้รับรู้ได้ถึงปัญหา
  • กรณีครั้งนี้เป็นอีกแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ใช้หลักกฎหมาย  นอกจากเดิมที่ใช้กลไกสังคม โดยประเด็นชัดเจนที่ชี้ประเด็นไปที่หน้าที่ของรัฐในการทำหน้าที่จัดทำบริการสาธารณะ   สัมพันธ์กับสิทธิการเข้าถึงหรือการคุ้มครองประชาชน ดังนั้นเมื่อรัฐไม่สามารถดูแลได้ ประชาชนสามารถสามารถป้องกันตัวเองได้  ซึ่งเดิมส่วนใหญ่การแก้ไขปัญหาคือการเผชิญเหตุและการเยียวยา
  • กรณีการอุทธรณ์ ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคำสั่ง เนื่องจาก ทส. ไม่เชื่อว่าการประกาศเขตควบคุมมลพิษจะแก้ไขปัญหาได้  หรือเกรงว่าอำนาจและงบประมาณจะหายไป   รวมถึงการขาดความรู้เรื่องวิธีแก้ไขปัญหาหรือชุดความรู้ที่แท้จริง ซึ่งจำเป็นต้องมีฐานข้อมูล , การขาดโครงสร้างพื้นฐานที่ทำให้เขตคุมครองฯ ไม่สามารถทำได้ เช่นบุคลากร เป็นต้น 
  • ประเด็นที่เกี่ยวเนื่องคือเรื่องอำนาจของหน่วยงาน ซึ่งคาบเกี่ยวกันคือกฎหมายบรรเทาสาธารณภัย และกฎหมายสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกี่ยวข้องกับ กระทรวงมหาดไทยและ ทส. ซึ่งอำนาจเป็นคนละส่วน ซึ่งควรจะดึงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
  • ข้อเสนอจำเป็นต้องเคลื่อนไหวต่อในการสร้าง Social Movement เรื่องกฎหมายอากาศสะอาด   และการปฏิรูปกลไกการแก้ไขปัญหาเรื่องกฎหมายสิ่งแวดล้อมและบรรเทาสาธารณะภัยไม่ได้แก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ การนำไปสู่กฎหมายสิ่งแวดล้อมก็ไม่ได้ตอบโจทย์การแก้ไขปัญหานี้ได้จริง สุดท้ายคือการผลักดันการป้องกันตนเอง และส่วนกฎหมายอากาศสะอาดจะต้องผลักดันต่อ โดยจะออกแบบในแต่ละพื้นที่ภูมิภาค เพื่อแก้ไขปัญหาในแต่ละที่ ไม่ใช่เป็นกฎหมายที่ครอบคลุมทั้งประเทศ เนื่องจากมีต้นเหตุที่แตกต่างกัน

ศ.ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ ผู้อำนวยศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ

  • ประเด็นเรื่องนี้เป็นตาบอดคลำช้าง เนื่องจากสาเหตุของ PM 2.5 มาจากหลายต้นเหตุ  มีทั้งฝุ่นที่กระทบต่อสุขภาพรุนแรง และไม่รุนแรง เช่น ป่าก็ปล่อย PM2.5 ที่ไม่ได้อันตราย  ขณะที่ฝุ่นในภาคเหนือที่ชาวเชียงใหม่กำลังเผชิญ อันตรายแน่นอน จำเป็นจะต้องแยกแยะ สาเหตุการเผา  เผาเพื่อความเชื่อประเพณี ธุรกิจการเกษตร เพื่อรุกพื้นที่ป่า เผาเพื่อเอางบ เผาการเมือง เป็นต้น
  • นอกจากนั้นสัดส่วนของสาเหตุฝุ่นควันแต่ละจังหวัดและในห้วงแต่ละปีก็แตกต่างกัน เป็นปัญหาที่มีพลวัตร  เปลี่ยนแปลงไปทุกปี  ปัจจุบันเราขาดองค์ความรู้เชิงลึกในแต่ละพื้นที่ เช่นภาคเหนือมีสาเหตุเกิดไฟ 30% จุดไฟในพื้นที่ จากประเทศเพื่อนบ้าน 70% ต้นเหตก็มาจากอุตสาหกรรมภายในประเทศเช่นกัน
  • กรณีของสิงคโปร์ ใช้วิธีการแก้ไขปัญหาเชิงรุกคือ บริษัทใดก่อให้เกิดมลพิษ จะขึ้น Blacklist พร้อมกับใช้เงินสนับสนุนภาค NGO แก้ไขปัญหาเชิงทางเลือกในการทดแทนไม่ให้เกิดฝุ่นคัน ในกรณีข้าวโพดก็สามารถใช้วิธีการ Food Testibility ได้เช่น การเลี้ยงวัว ต้องเลี้ยงข้าวโพดเท่าไร ต้องใช้ข้าวโพดกี่ไร่  พร้อมกับการใช้ข้อมูลจาก Gistda มาเช็คกับ Hotspot เราสามารถเสนอเป็น CSR ให้บริษัทฯ ที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบได้
  • กรณีการประกาศเขตควบคุมมลพิษ ในประเทศไทยมีขึ้นแล้วในปี 2550 มีการฟ้องร้องที่มาบตาพุด ทำให้กรมควบคุมมลพิษปรับเปลี่ยนขึ้นมา  ทำให้ภาครัฐตื่นตัว และครั้งต่อมาคือกรณีที่เกิดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในปี 2019  กรณีของภาคเหนือประสบปัญหามา 10 ปี ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงกรณีของคำพิพากษาครั้งนี้คาดว่าจะสร้างการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้
  • ประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับปัญหาฝุ่นควันเกี่ยวข้องกับ อำนาจรัฐ กฎหมาย ปัญหาปากท้อง ธุรกิจการเกษตร  มลพิษในเมือง และพืชทดแทน ได้นำเสนอพื้นที่ตัวอย่าง เช่นโครงการภูฟ้า สามารถเป็นโอเอซิสกลางทะเลทราย เป็นกรณีศึกษาฟื้นฟูเขาหัวโล้นเป็นป่าทำได้จริง เป็นโจทย์ทางออก Solution นำพืชเศรษฐกิจใหม่ปลูกทดแทน เช่น โกโก้ กาแฟ แมคคาดาเมีย  เป็นต้นและ พืชที่น่าสนใจคือหญ้าเนเปียร์ สามารถฟื้นฟูพื้นทีได้ ตอบโจทย์เชื้อเพลิง ที่สามารถส่งต่อ โรงไฟฟ้าชีวมวล โดยใช้หญ้าเนเปียร์มาใช้ในการผลิต และสามารถเลี้ยงสัตว์ได้ด้วย เพื่อให้ผืนป่า ปรับมาปลูกพืชมูลค่าสูง  จำเป็นต้องการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ต่ออุตสาหกรรมการเกษตรใหม่ เช่น การปลูกข้าวโพด อ้อย  เป็นการเน้นเชิงปริมาณ ต้องปรับใหม่ในการปลูกพืชเกษตรคุณภาพมากขึ้น ที่เป็น Pure Organics ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • การนำเสนอประเด็นผลกระทบเชิงสุขภาพและการเสียชีวิตที่มีผลการศึกษาของ WHO ที่ประชาชนต้องตระหนักเพิ่มขึ้น แม้จะไม่ได้เห็นผลทันที จำเป็นจะต้องนำเสนอเรื่องต้นทุนของประชาชนเชิงเปรียบเทียบ ต้องประเมินกันอย่างจริงจัง  เช่น การมีข้อมูลสารพิษในอากาศ เพื่อให้เกิดการประเมินการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด

 คุณนิติพล ผิวเหมาะ ประธานอนุกรรมาธิการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองและมลพิษทางอากาศ

  • การแก้ไขปัญหานี้ พร้อมให้การสนับสนุน โดยก่อนหน้านี้ได้ทำหน้าที่ในตำแหน่งประธาน อนุกรรรมการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันพิษ สวล.  ประเด็นสำคัญคือเชื่อหรือไม่ว่าเราสามารถแก้ไขปัญหาได้ หากเชื่อทำได้ เราจะสามารถตัดอุปสรรคได้ ล่าสุดก็ได้ส่งรายงานให้รัฐบาลแล้ว ประเด็นสำคัญคือโครงสร้างสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่มีบอร์ดกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และมีคณะกรรมการควบคุมมลพิษ และเชื่อมั่นว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการมีความตั้งใจและมีความรู้ แต่ผู้บริหารในระดับตัดสินใจยังไม่ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหา

คุณธารา บัวคำศรี ผู้อำนายการกรีนพีซ ประเทศไทย

  • ได้นำเสนอประเด็นธุรกิจการเกษตรในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่เป็นต้นเหตุของฝุ่นควันโดยเฉพาะในรัฐฉาน และลาวเหนือ โดยได้ทำงานร่วมกับคณะภูมิศาสตร์ มช. มาอย่างต่อเนื่องในประเด็นคือมลพิษฝุ่นควันข้ามพรมแดน กรณีภาคเหนือตอนบน  พบว่ากรณีการเผาพื้นที่ป่าจะมีสูงมาก และพบว่าร้อยละ 30 จะมาจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เชิงอุตสาหกรรม ข้อมูลที่น่าสนใจจาก Gistda ในปี 2558 ได้มีการแยกพื้นที่เผาไหม้ ประเภทป่าอนุรักษ์ พื้นที่เกษตร  รวมกับข้อมูลจาก NASA ในปี 2546 เป็นต้นมา พบว่าจะมีความรุนแรงมากขึ้น ขณะที่ตัวเลขพื้นที่เผาไหม้ลดลงอยู่ในพื้นที่เกษตรชุมชนดั้งเดิม หรือไฟดีน้อยลง ขณะที่ไฟอื่นเพิ่มตัวมากขึ้น โดยเฉพาะจากพื้นที่การเกษตรเชิงเดี่ยว เช่น ประเทศลาวมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้เป็นพื้นที่อื่น 10 อันดับของโลก กรณีคำพิพากษาของศาลยังไม่ตอบโจทย์ ควรสร้างกลไกความร่วมมือข้ามแดน  ประเด็นเรื่องแนวทางการใช้กฎหมายของสิงคโปร์ เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะผลักดัน รวมถึงเร่งกลไกของอาเซียนด้วย ,รัฐบาลจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้ เช่น จากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หรือกรมควบคุมมลพิษ จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้จริง หรือ pen Government

คุณบัณรส บัวคลี่ สภาลมหายใจเชียงใหม่  

  • ได้ให้ข้อมูลการประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษที่ผ่านมาของประเทศไทยในหลายกรณี บทพิสูจน์คือการไม่เข้มข้นในทางปฏิบัติและกลายเป็นการดำเนินงานแบบประจำและเชิงรับ เช่นเดียวกับระบบ Single Command ก็เป็นเรื่องเผชิญเหตุ และการเยียวยา รวมถึงวาระแห่งชาติก็ยังไม่เป็นจริง จึงอาจจะเสนอเป็นการผสมผสานการเชิงกฎหมาย ทั้ง มท. และทส.

ประเด็นแลกเปลี่ยนผู้ร่วมแลกเปลี่ยน

  1. คุณวิชิต กอเจริญกิจกุล (จ.พะเยา) เสนอว่าปัญหาสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงเป็นองค์ประกอบสำคัญ เนื่องจากการเปลี่ยนพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่การเกษตร ภาพรวมในประเทศลุ่มแม่น้ำโขงมีมากกว่า 20 ล้านไร่ จะส่งกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมอากาศแห้งแล้ว เสนอให้มีมาตรการป้องกันลดการนำเข้าสินค้าการเกษตรที่จะส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศด้วย
  2. คุณภูรินทร์ (เชียงใหม่) เสนอการขับเคลื่อน taking results-driven action โดยใช้กระบวนการคิดแบบ Design Thinking  
  3. ดร.เจน ชาญณรงค์ แอดมินเพจฝ่าฝุ่น ตั้งประเด็นเรื่องผลกระทบจากอุตสาหกรรมข้าวโพดกับปัญหาฝุ่นควันจะต้องลงลึกเพื่อให้เกิดกระบวนการแก้ไขขึ้นมา
  4. สุภาภรณ์ มาลัยลอย ผู้จัดการ มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) ได้ยกตัวอย่างกรณีที่มาบตาพุด ที่เป็นพื้นที่ควบคุมมลพิษ ผลที่ตามมาคือต้องสำรวจแหล่งต้นเหตุ  เป็นส่วนเริ่มต้นที่จะต้องทำในเขตควบคุมมลพิษ เพื่อทำบัญชีมลพิษ ภาคเหนือก็เช่นกันหากเป็นพื้นที่ควบคุมก็จำเป็นต้องดำเนินการเรื่องบัญชีมลพิษ การสำรวจพื้นที่เผา การชี้ประเด็นเรื่องการผลกระทบต่อสุขภาพ หรือมีแนวโน้มว่าจะกระทบก็ถือว่าสามารถร้องต่อศาลได้
  5. คุณวิทยา ครองทรัพย์ (ผู้ประสานงานเครือข่ายลมหายใจภาคเหนือ) ได้เสนอให้มีการสร้างเวทีสิทธิประชาชนควรรับสิทธิ์คุ้มครองปกป้อง ให้ความรู้ในพื้นที่ภาคเหนือ และทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่สามารถดำเนินการได้โดยใช้กรณีผู้ฟ้อง นายภูมิ วชร เจริญผลิตผล มาถอดบทเรียนเพื่อให้แนวทางในการผลักดันการแก้ไขปัญหาในอนาคตได้

รายงานโดย
คุณอาคม สุวรรณกันธา
กรรมการรองเลขาธิการหอการค้า จ.เชียงใหม่

.

#เพื่อลมหายใจภาคเหนือ

WEVO NEWS

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

เห็ดปลอดเผา ก้อโมเดล พลัส+ ภาคีเครือข่ายแม่ปิงตอนใต้ ร่วมกันช่วยแก้ปัญหาฝุ่นควันไฟ อช.แม่ปิง

วันที่ 30 พฤษภาคม 2566 ก้อโมเดล พลัส+ ภาคีเครือข่ายแม่ปิงตอนใต้ ความพยายามดึงความร่วมมือหลายฝ่ายเข้าไปร่วมด้วยช่วยแก้ปัญหาฝุ่นควันไฟ อช.แม่ปิง ทั้งด้านอาชีพเศรษฐกิจปลอดเผา และด้านท่องเที่ยว เปลี่ยนจาก …

อ่านเพิ่มเติม →

สิ่งที่แต่ละจังหวัดต้องเปลี่ยน 2567 ทำแบบเดิมไม่ได้

สิ่งที่แต่ละจังหวัดต้องเปลี่ยน 2567 ทำแบบเดิมไม่ได้ บรรยายโดย บัณรส บัวคลี่ ฝ่ายข้อมูลและผลักดันนโยบาย เครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ

อ่านเพิ่มเติม →