วันที่ 31 มีนาคม 2564 ค่าฝุ่นละออง pm2.5 ของกรมควบคุมมลพิษ ณ สถานี ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย รายงาน TH AQI 495 ซึ่งเป็นค่าสูงมาก สถานีเอกชนที่ใช้มาตรฐาน US AQI ให้ค่าสีน้ำตาลม่วง ที่ระดับ Hazardous 614 อันตรายมาก เกินมาตรฐานความปลอดภัยหลายเท่าตัว

.
นี่เป็นค่าอากาศที่ย่ำแย่ที่สุดในรอบเดือน แต่มันก็ไม่ใช่ครั้งแรกของอำเภอแม่สายที่ประสบวิกฤตอากาศมลพิษสูง หากเป็นภาวะที่เกิดจำเจเป็นประจำทุกปี แม่สายเป็นแอ่งที่ราบเหนือสุดด้านเหนือข้ามพรมแดนไปที่ตัวเมืองท่าขี้เหล็ก ของเมียนมาร์ก็มีลักษณะเป็นที่ราบเล็กๆ เดียวกัน มีภูเขาล้อมรอบแอ่งท่าขี้เหล็ก-แม่สาย ในช่วงต้นฤดูไฟ อากาศที่แม่สายยังไม่ย่ำแย่นัก โดยจะเริ่มทวีความเข้มของมลพิษมาเป็นลำดับตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม โดยที่เมืองแม่สายเองไม่มีการเผาใหญ่ ที่ปรากฏเป็น hotspot เลย แม่สายตั้งอยู่ท่ามกลางจุดความร้อนจำนวนมากที่เผากันบนที่สูงรอบแอ่ง ซึ่งก็เป็นที่ชัดเจนว่า ปัญหาวิกฤตอากาศของแม่สายมาจากการเผาในเขตพรมแดนเพื่อนบ้านและมลพิษเกือบทั้งหมดข้ามแดนมา
.
ปัจจัยที่ส่งให้ค่า pm2.5 ของเช้าวันที่ 31 มีนาคมที่ชัดเจนสุดคือ ไฟไหม้บนเนินเขาด้านทิศตะวันตกของเมืองท่าขี้เหล็กเมื่อคืนที่ผ่านมา บริเวณละติจูด 20.49849 ลองติจูด 99.90648 เป็นไฟใกล้ที่ส่งผลกระทบที่สุด เกิดห่างจากด่านพรมแดนประมาณ 500 เมตร นอกจากนั้นยังมีกลุ่มไฟบนภูเขาด้านทิศตะวันตกของท่าขี้เหล็กซึ่งเป็นเขตเกษตรกรรมที่สูง ห่างจากแม่สายไม่ถึง 1 ก.ม.ตลอดทั้งวันที่ 30 มีนาคม ปัจจัยลมระดับล่าง (10 ม.) ที่พัดจากทิศตะวันตก หรือบางเวลาค่อนมาทางตกเฉียงใต้ ทำให้แม่สายเป็นแอ่งรับมลพิษจากการเผาดังกล่าวตลอดเวลา จึงเกิดเป็นมลพิษสะสมต่อเนื่อง สถิติค่าpm2.5 เฉลี่ย 24 ชม. จากสถานีวัดอากาศค.พ.ย้อนหลัง 5 วัน (ตั้งแต่ 27 มี.ค.) ค่อยเพิ่มขึ้นเป็นลำดับคือ 114-155-259-247-385 มคก./ลบ.ม.

.
WEVOสื่ออาสา ใช้โปรแกรมตรวจเส้นทางเคลื่อนตัวของมลพิษ โมเดล NOAA Hysplit Trajectory เพื่อยืนยันเส้นทางเคลื่อนที่ของลม จากตัวอำเภอแม่สาย ย้อนหลังกลับไปหาต้นกำเนิดระยะ 24 ชั่วโมง ได้ผลว่า การเคลื่อนของมลพิษระดับ 10 เมตร 50 เมตร และ 100 เมตร ที่มาสู่แม่สายนั้นพัดมาจากทิศตะวันตก ข้ามมาจากเขตเกษตรกรรมที่มีการเผาจากฝั่งท่าขี้เหล็กอย่างชัดเจน โมเดลดังกล่าวเป็นอีกหนึ่งเครื่องมืออ้างอิง นอกเหนือจากทิศทางลมหลักซึ่งมาจากด้านตะวันตกในระยะนี้

.
มลพิษ pm2.5 เฉลี่ย 24 ชม. เกิน 100 ถือได้ว่ารุนแรงมาก ระดับที่มติครม.ว่าด้วยวาระแห่งชาติด้านฝุ่นละออง เมื่อตุลาคม 2562 กำหนดว่า หากพื้นที่ใดมีค่า pm2.5 เฉลี่ยเกิน 100 มคก./ลบ.ม. เป็นขั้นอันตรายระดับ 4 สีแดง ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติประชุมแก้ปัญหาและนำเสนอนายกรัฐมนตรีสั่งการ แต่ทว่า จนบัดนี้ก็ยังไม่มีสัญญาณใดๆ จากรัฐบาลกลาง และที่สำคัญคือ ท่าทีที่แสดงต่อประเทศเมียนมาร์ต่อปัญหามลพิษฝุ่นละอองข้ามแดนที่ว่า
.
ขอบคุณภาพประกอบ : สภาพอากาศเหลืองทึบขะมุกขมัวเหนือ อ.แม่สาย เช้าวันที่ 31 มี.ค.2564 ภาพโดย ณรงค์ ใจตารักษ์ / เพจชุมชนคนแม่สาย
