เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา ณ ชุมชนบ้านม้งดอยปุย โครงการเพื่อดอยสุเทพ สภาลมหายใจเชียงใหม่ ได้มีการหารือและแลกเปลี่ยนความรู้ได้เสนอมุมมองการท่องเที่ยวโดยชุมชน ร่วมมือกับ ผู้นำชุมชนและคณะกรรมการหมู่บ้านม้งดอยปุย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ สมาพันธ์เกษตรยั่งยืนจังหวัดเชียงใหม่ และสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การมหาชน) ได้ลงพื้นที่ทำความเข้าใจบริบทชุมชน สำรวจพื้นที่และประเมินศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อให้มีคุณภาพมากขึ้น ในการที่จะสร้างสรรค์ระบบเศรษฐกิจสีเขียวจากการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน เพื่อตอบโจทย์มิติทางเศษฐกิจ ควบคู่กับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อัตลักษณ์ทางวัตนธรรมของชาติพันธุ์ม้ง ให้ผสมผสานสอดคล้องกับวิถีชีวิตและการผลิตสมัยใหม่ และสนับสนุนงานวิจัยในพื้นที่

การลงพื้นที่ ได้มองเห็นภาพจริงมากขึ้นและพร้อมร่วมจับมือขับเคลื่อนงานกันต่อไป โดยสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ ได้เสนอการทำโฮมสเตย์ร่วมกับชุมชนม้งดอยปุย ทำเป็น Package Tour และสนับสนุนเรื่องการตลาด บ้านม้งดอยปุยมีต้นทุนการท่องเที่ยวอยู่แล้ว และมีเสน่ห์ของวิถีชีวิตอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อม จะเป็นสิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามา และบริบทท่องเที่ยวปัจจุบันที่เปลี่ยนไปนักท่องเที่ยวจะซื้อประสบการณ์มากกว่าซื้อสิ่งของ จึงอยากสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวที่จะกลับมาเที่ยวอีกครั้ง ไม่ใช่ทำให้นักท่องเที่ยวมาเปลี่ยนวิถีชุมชน และสร้างกฎเหล็กการท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดความเสถียร

นายพุฒิพงศ์ นวกิจบำรุงสภาลมหายใจเชียงใหม่ได้กล่าวว่าการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันไฟ จะคิดแค่เรื่องการเผาอย่างเดียวไม่ได้ ต้องคิดไปถึงกลการบริหารจัดการเชิงพื้นที่และมองหาช่องทางการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจสีเขียวที่มีความยั่งยืน และเป็นจังหวะที่ดีที่จะฟื้นฟูดอยสุเทพ-ปุย เพราะขณะนี้ชาวบ้านประสบผลกระทบเศรษฐกิจจากโควิด 19 จึงอยากให้เกิดแนวทางความร่วมมือจากหลายฝ่ายไม่ใช่แค่ชุมชนและภาคเอกชนเท่านั้น อยากจะให้เกิดการบูรณาการของของภาครัฐและอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย เพื่อให้เกิดความสืบเนื่องในการดำเนินงานระยะยาว และควรต้องมี “การทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน” โดยจะนำร่อง 5 ชุมชนขุนช่างเคี่ยนม้งดอยปุยบ้านไร้กองขิงสันลมจอยและบ้านปงไคร้ ใน 5 หมู่บ้าน เป็นชาวเชาเผาม้ง 2 หมู่บ้าน บ้านไร้กองขิง สันลมจอย เป็นชุมชนเมืองที่อยู่เชิงดอย และบ้านปงไคร้ที่เป็นชุมชนคนเมืองที่อยู่บนดอย

ขณะที่ สมาพันธ์เกษตรยั่งยืนจังหวัดเชียงใหม่ ได้เสนอการส่งเสริมทำเกษตรอินทรี เพื่อสร้างความเข้มแข็งชุมชน สามารถพึ่งพาตัวเองได้ มีผลผลิตอินทรีย์ สร้างแรงดึงดูให้คนข้างล่างขึ้นมาท่องเที่ยวและซื้อผลผลิต สร้างเสน่ห์และอัตลักษณ์ของตนเอง โดยไม่ต้องเอาผลผลิตไปขายข้างล่าง รวมถึงจะสนับสนุนการอบรบการทำเกษตรอินทรีให้แก่ชาวบ้าน และการรับรอง (PGS) ที่เป็นระบบการรับรองคุณภาพที่มุ่งเน้นการรับประกันคุณภาพในท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม เพื่อเป็นการสร้างความเช่ือมั่นให้กับผู้บริโภค และขยายช่องทางการตลาดให้กับผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ การทำเกษตรอินทรีย์จะขับเคลื่อนในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน โดยชาวบ้านจะหารือคัดเลือกเกษตรกรที่สนใจเกษตรอินทรีย์เพื่อรวมตัวกันจัดอบรมให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐาน เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีพี่เลี้ยงจาก สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การมหาชน) นำความรู้ของโครงการการหลวงมาต่อยอดให้แก่ชุมชน และจะยังส่งเสริมภาคการเกษตร ดูแลสิ่งแวดล้อม ขยายพันธุ์พืชสมุนไพรในท้องถิ่นนำมาปรับใช้ภาคการเกษตรยังเป็นระบบ GAP เช่น องุ่น และอะโวคาโด เพื่อพัฒนาจากเกษตรกรสู่ผู้ตรวจแปลงเกษตรอินทรี

ผู้นำชุมชนและคณะกรรมการหมู่บ้านม้งดอยปุย ก็เห็นด้วยที่จะให้เกิดการท่องเที่ยวโดยชุมชนและกำการเกษตรอินทรี เดิมทีชาวบ้านมีอาชีพค้าขายควบคู่กับการทำการเกษตรเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และในพื้นที่ชุมชนมีร้านค้า 400 กว่าร้าน ปกติแล้วมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในชุมชนประมาณ 500 คน/วัน ในช่วงเทศกาลจะมีนักท่องเที่ยว 4-5 พันคน/วัน และมี 3 สถานที่หลัก ที่นักท่องเที่ยวเข้ามาชมและถ่ายรูปศูนย์ดอกไม้ ศูนย์แสดงวัฒนธรรมวิถีชีวิต และพิพิธภัณฑ์ ยังมีสถานที่อื่นอีกมากมายเช่น ชมการทำเสื้อผ้า ลวดลาย และการแต่งกาย พื้นที่หมู่บ้านม้งดอยปุย อยู่ในเขตอุทยานฯ ไม่มีโฉนด โดยชาวบ้านมีเอกสิทธิ์การใช้พื้นที่ ที่ดูแลเกือบ 20,000 ไร่ ซึ่งมีพื้นที่เกษตร 1,000 กว่าไร่ ที่มีพิกัดสามารถทำการเกษตรใช้ประโยชน์ได้อย่างอิสระโดยไม่กระทบข้อกฎหมายอุทยานฯในการทำการเกษตรส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สวนลิ้นจี่และมีการส่งเสริมการปลูกพืชใหม่ๆ เช่น พืชผักในโรงเรือน ไม้ผลเมืองหนาว ได้แก่ องุ่น อาโวคาโด กล้วย และกาแฟ โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การมหาชน) ในโครงการขยายผลโครงการหลวง