25 พฤษภาคม 2464 เครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ (กลุ่มที่2) ได้แก่ ลำพูน เชียงราย พะเยา และแพร่ ร่วมระดมความคิดเห็นผ่านระบบ Zoom โดยการสนับสนุนของ สสส. หลังเห็นตรงกันว่า การแก้ไขปัญหาหลาย 10 ปีที่ผ่านมา ยังคงแก้ที่ปลายเหตุ ไม่สามารถลดความรุนแรงของปัญหาได้ ถึงเวลาที่จะต้องประสานความร่วมมือในระดับภาค เพื่อพัฒนาข้อเสนอทางนโยบาย ส่งไปถึงรัฐบาล ในการเตรียมแก้ไขปัญหาฝุ่นควันในปี 2565
นายวิทยา ครองทรัพย์ ผู้ประสานงานเครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ ระบุว่า สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนและเชื่อว่าทุกคนเห็นเหมือนกัน คือที่ผ่านมา แม้รัฐบาลจะมีความพยายามในการแก้ปัญหาฝุ่นควันมาโดยตลอด แต่ก็ไม่สามารถแก้ได้อย่างแท้จริง การมาพูดคุยกันครั้งนี้ ไม่ใช่การคุยว่าแต่ละจังหวัดจะทำอะไร แต่จะเป็นการเอื้อมมือมาจับกัน เพื่อเชื่อมการทำงานและขับเคลื่อนในระดับภาค ซึ่งเราจะร่วมกันเรียกร้องและผลักดัน ให้รัฐบาลรับฟัง เข้าใจ และมีการแผนแก้ปัญหาฯนี้ อย่างตรงจุดและยั่งยืน จึงเป็นที่มาของการระดมข้อเสนอเชิงนโยบาย จากตัวแทนในแต่ละจังหวัด
นายชัชวาล ทองดีเลิศ ประธานคณะกรรมการ สภาลมหายใจเชียงใหม่ กล่าวว่า แต่ทุกคนคงปฏิเสธไม่ได้ ว่าลำพังจังหวัดตนเองจังหวัดเดียว แม้จะมีแผนที่ดีเยี่ยมแค่ไหน จุดความร้อยน้อยลงเพียงใด แต่ฝุ่นควันก็ยังมาจากจังหวัดอื่นๆ ต้นทุนที่ดี โดยเฉพาะคนทำงานและประสบการณ์ เชื่อว่าการได้คุยกันครั้งนี้ จะช่วยให้เรามองเห็นแนวทางและมีเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งมั่นใจว่าจะเป็นพลังมากพอ ที่รัฐบาลจะหันมารับฟังข้อเสนอจากภาคประชาชน

ในการประชุม ได้เปิดโอกาสให้ตัวแทนเครือข่ายฯ ในแต่ละจังหวัด นำเสนอประเด็นกรอบเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือ ประมาณ 15 นาที ซึ่งมีประเด็นสำคัญ ที่เห็นตรงกัน ตือรัฐบาลต้องให้ความสำคัญ กับตัวชี้วัดด้านสุขภาพ ผลักดันให้มีการติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศ กระจายไปยังทุกตำบล เพื่อเฝ้าระวังและสร้างการรับรู้ ต้องพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้ในการแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน ต้องให้ความสำคัญเชิงนโยบายการต่อการจัดการพื้นที่สูง พื้นที่ป่าและเกษตรยั่งยืน ต้องร่วมผลักดันให้เกิดสิทธิทางกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม เช่น พ.ร.บ.อากาศสะอาด ต้องมีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นจัดการด้วยตนเอง รวมถึงการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนเพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง และต่อจากนี้ กระทรวงสาธารณะสุขจะต้องมีบทบาทที่ชัดเจนกว่าเดิม เช่นเดียวกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ที่จะต้องมีมาตรการที่สอดรับกับสถานการณ์ด้วย
.
ที่ประชุมฯ ยังเห็นตรงกับวงประชุมกลุ่มแรก(วานนี้) ว่าจะใช้ชื่อ “สภาลมหายใจภาคเหนือ” เพื่อขับเคลื่อนการทำงานในระดับภาคต่อจากนี้ ขณะเดียวกันจะผลักดันให้เกิดโครงการโรงเรียนสู้ฝุ่น ใน 8 จังหวัดภาคเหนือ อย่างน้อยจังหวัดละ 10 โรงเรียน เพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบก่อนจะขยายให้ครอบคุลมทั้งภาค เพื่อสร้างความองค์ความรู้ และวิธีการรับมือภายใต้สถานการณ์ ให้กับนักเรียน ครู และผู้ปกครอง ควบคู่ไปกับการเคลื่อนไหวของสภาลมหายใจภาคเหนือ


สำหรับรายละเอียดการประชุมทั้ง 2 วัน ที่ได้จากการระดมความคิดเห็นของเครือข่ายฯ ทั้ง 8 จังหวัด หลังจากนี้คณะทำงานฯ จะร่วมกันสรุปเป็นชุดข้อเสนอ และจะมีการส่งให้แต่ละจังหวัดพิจารณาและแก้ไปอีกครัง ก่อนจะเสนอต่อรัฐบาล เบื้องต้น จะมีการนัดประชุมเครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ รวมไปถึงการแถลงข่าวและออกแถลงการณ์ร่วมกันอีกครั้ง ในภายในเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ เพื่อให้รัฐบาลเร่งดำเนินมาตรการป้องกันและแก้ปัญหาฯ ก่อนฤดูฝุ่นควัน ปี 2565 จะมาถึง
