.

9 สิงหาคม 2564 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมสรุปผลและถอดบทเรียน (After Action Review : AAR) การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2564 (ผ่าน VDO Conference ระบบ Webex) ซึ่งมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้แทนทุกจังหวัดเข้าร่วมการประชุม โดยมีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นฝ่ายเลขานุการในการประชุม
.
ด้าน นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เล่าว่า ที่ผ่าน 2563-2564 ได้มีการประชุมอนุกรรมการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ไปแล้ว 5 ครั้ง นำเข้าสู่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 5 ครั้ง และได้นำผลการประชุมรวมถึงความคืบหน้าของคณะอนุกรรมการและคณะกรรมการ รายงานให้กับคณะรัฐมนตรีให้ทราบไปแล้ว 6 ครั้ง ขณะที่การดำเนินการแก้ปัญหาในช่วงปีนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 ดีขึ้นอย่าเห็นได้ชัด หลังสิ้นสุดฤดูฝุ่นควัน ได้มีการถอดบทเรียนในระดับพื้นที่ ทั้งในกรุงเทพมหานครฯ และปริมณฑล รวมไปถึง 17 จังหวัดภาคเหนือ ทั้งรายจังหวัดและระดับภาค โดยกองทัพภาคที่ 3 ซึ่งได้เปิดโอกาศให้ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และทุกภาคส่วน ได้เสนอแนะความคิดเห็นเพื่อนำมาปรับปรุงแผนการดำเนินงานในปี 2565 ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
.

.
“หนึ่งในข้อจำกัดของการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ เรายังไม่สามารถขยายเครือข่ายติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศให้ได้ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด ปัจจุบันเรามีเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศอยู่แล้ว 46 จังหวัด แต่งบประมาณในปี 2565 เราได้รับการจัดสรรงบประมาณแค่ 10 จังหวัด รวมเป็นห้า 16 จังหวัด ทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อยู่ระหว่างการขอรับการจัดสรรจากงบกลาง ซึ่งในปีงบประมาณ 2565 เราขอไปให้ครบ 77 จังหวัด แต่เป็นที่น่าเสียดายในชั้นกรรมาธิการเราโดนปรับลดไป ทำให้เพิ่มมาได้เพียงแค่ 10 จังหวัด ทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงอยากจะขอความกรุณาขอรับการจัด สรรงบกลาง เพื่อจะได้มีฐานข้อมูลเรื่องฝุ่นละออง ให้ได้ครอบคลุมทั้งประเทศทั้ง 77 จังหวัด เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการ และแจ้งเตือนให้กับพี่น้องประชาชน” นายวราวุธ ระบุ
.

.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังระบุอีกว่า แม้ว่าในที่สุดแล้ว จะสามารถจัดการปัญหาในระดับประเทศได้ ปัญหาฝุ่นละอองข้ามแดนจากเพื่อนบ้าน ทั้งทางทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ยังคงเป็นประเด็นสำคัญที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะดำเนินการติดตาม และประสานขอความร่วมมือผ่านเลขาธิการอาเซียน ตามข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดนอย่างเข้มข้นต่อไป
.

.
นายธีรภัทร ประยูรสิท ธิปลัดสำนักนายกฯรัฐมนตรี ได้นำเสนอผลการถอดบทเรียนที่วิกฤติปี 2564 พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยได้เล่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และแนวทางการดำเนินงาน 4 ด้าน คือควบคุมมลพิษจากการคมนาคมขนส่งควบคุมมลพิษ จากการเผาในที่โล่งแจ้ง ควบคุมมลพิษจากอุตสาหกรรม และด้านสาธารณสุข ขณะเดียวกันพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ คือรัฐบาลให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาฝุ่นละออง โดยกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ มีการใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการยกระดับมาตรการ มีไกลการสั่งการแบบซิงเกิ้ลคอมมานในระดับพื้นที่ มีการติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์และรายงานสู่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง มีคนไกลประสานงานและสื่อสารข้อมูลที่เป็นเอกภาพ มีระบบคาดการณ์ฝุ่นละอองเพื่อให้มีข้อมูลช่วยกันตัดสินใจการมีส่วนร่วม โดยภาคเอกชน เข้ามาร่วมดำเนินโครงการลดฝุ่นจากแหล่งกำเนิด และมีจิตอาสามาสมาสนับสนุนการทำงาน
.
ขณะที่ พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ 3 โดยกองบัญชาการสถานการณ์ควบคุมไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก ได้มีการเปิดวิดีทัศน์สรุปผลการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา
.
.

.
ด้าน พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่า ปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองเป็นปัญหาที่รัฐบาลให้ความสำคัญเนื่องจากส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ให้ทุกหน่วยงานบูรณาการทุ่มเทกำลังและความสามารถ เพื่อควบคุมแหล่งกำเนิดและปริมาณฝุ่นละอองไม่ให้สูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน และปฏิบัติงานป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง บนหลักการ “ขยายผล พัฒนา ขจัดปัญหา” กำหนดเป้าหมายการป้องกันและแก้ไขปัญหา ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองในปี 2565 ต้องดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
.

.
โดยมอบให้กระทรวงมหาดไทย บัญชาการและสั่งการผ่านคณะอนุกรรมการและการแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการสาธารณภัยของประเทศ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ยกระดับ Single Command ในการติดตามสถานการณ์และบูรณาการสั่งการป้องกันและแก้ไขปัญหาในทุกจังหวัดอย่างเคร่งครัด โดยสั่งการไปถึงระดับตำบล อำเภอ อบต. เทศบาล กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ให้ลงพื้นที่ดูแลอย่างใกล้ชิด ให้มีการวางแผนจัดกำลังพลอุปกรณ์เครื่องมือและงบประมาณให้เพียงพอต่อการปฎิบัติงานโดยเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร และต้องได้รับการคุ้มครองความปลอดภัยในระดับสูงสุด
.
มอบให้กระทรวงกลาโหม สนับสนุนการดำเนินงาน เพื่อลดการควบคุมแหล่งกำเนิด อย่างเต็มประสิทธิภาพ ยกระดับการให้ความร่วมมือ ในกรอบของคณะกรรมการชายแดน และจังหวัดคู่ขนาน เพื่อกำกับควบคุมแหล่งกำเนิดจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะการเผา
.
มอบให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ติดตามและกำกับการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนงานปฏิบัติอย่างเคร่งครัดขับเคลื่อนให้เป็นไปตามวาระแห่งชาติการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองและแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง 12 ข้ออย่างเคร่งครัด และต่อเนื่องขยายผลการบริหารจัดการเชื้อเพลิงแบบครบวงจร ทั้งการนำเชื้อเพลิงในพื้นที่ป่ามาใช้ประโยชน์ เพื่อลดการเผาในที่โล่ง และการประยุกต์ใช้แอพพลิเคชั่นบริหารจัดการการเผา ต่อยอดความสำเร็จของชุมชนและองค์กร ต่างๆเพื่อให้ความร่วมมือรถแหล่งกำเนิดฝุ่นละออง เพื่อเป็นแบบอย่างให้สังคม นำไปใช้และปฏิบัติ ขับเคลื่อนการป้องกัน และการแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดน ตามกลไกของอาเซียนให้ เป็นรูปธรรม มุ่งเน้นการปฏิบัติให้มากขึ้น
.
มอบให้กระทรวงคมนาคมและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กำกับดูแลเข้มงวดกวดขัน และบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะรถที่มีควันดำ ต้องสั่งห้ามไม่ให้มีการใช้งาน จนกว่าจะนำไปปรับปรุง
.
มอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เฝ้าระวังป้องกันและส่งเสริมการตัดอ้อยสดลดอ้อยไฟไหม้โดยสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์และงบประมาณอย่างต่อเนื่อง
.
มอบให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม บูรณาการขับเคลื่อนกับเครือข่าย ของมหาวิทยาลัย นักวิจัย และภาคส่วนต่างๆ จะทำการวิจัยและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ในการวิเคราะห์เชิงลึก เพื่อให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างยั่งยืนและครบวงจร
.
“การทำงานเพื่อแก้ปัญหาไฟป่า-ฝุ่นควัน ของประเทศต่อจากนี้ ขอให้ทุกฝ่าย ยึดใช้ข้อมูลที่เป็นชุดเดียวกัน เพื่อป้องกันการสับสน ขอให้ช่วยสื่อสารความเข้าใจเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับรัฐบาลในการแก้ปัญหานี้ และให้ภาคประชาขน เข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน“ พลเอก ประวิตร กล่าวสรุป ก่อนจะปิดการประชุม
.
สำหรับงานประชุมครั้งนี้ เป็นไปอย่างรวดเร็วใช้เวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง เป็นการรายงานการทำงานเพียงสั้นๆ สลับกับเปิดวิดีทัศน์สรุปการทำงานในช่วงที่ผ่าน และไม่ได้เปิดให้มีการซักถาม แยกเป็น นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 10 นาที / เปิดวิดีทัศน์สรุปผลและถอดบทเรียนฯ 15 นาที / ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี รายงานฯ 10 นาที / แม่ทัพภาคที่ 3 รายงานและเปิดวิดีทัศน์ รวม 7 นาที / และ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี อ่านเอกสารมอบนโยบาย 9 นาที ก่อนจะกล่าวปิดประชุม โดยใช้เวลารวมทั้งสิ้น 51 นาที
.

.
ส่วนที่ห้องประชุมสํานักงาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ ชั้น 2 อาคารอํานวยการ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีรายงานว่า ทางจังหวัดได้เปิดให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2564 เข้าร่วมการประชุม เพื่อกำหนดแนวทางการทำงานในระยะจากนี้ต่อด้วย
.
