บทความโดย : บัณรส บัวคลี่
*หมายเหตุ บทความนี้ โพสต์ครั้งแรกในเฟซบุ๊ค บัณรส บัวคลี่ 1 ก.ย. 2564
.
1. มีหน่วยติดตามและรวบรวม ทำอะไรไปบ้าง?
.
กิจกรรมแก้ปัญหาระหว่างปีตามวาระแห่งชาติ ระดับพื้นที่จังหวัด ว่าแต่ละหน่วยงานกระทรวงทบวงกรม ทำอะไรบ้าง เช่น หน่วยงานก.เกษตร มีแผนงานลดการเผาในพื้นที่เกษตรอย่างไร / ก.อุตฯ จัดการไร่อ้อยที่ไหนบ้างที่ยังต้องเผา ปีนี้เหลือเผากี่ไร่ / บช แหล่งกำเนิดมลพิษระดับจว. / เพื่อให้คนในจว.รู้ว่า อุตส่าห์มีวาระแห่งชาติ กำหนดแผนมาแล้ว เกิดอะไรดีขึ้นบ้างในจว.
.
2. วิเคราะห์การเกิดไฟในแต่ละป่า
.
ภาคเหนือตอนบนไฟไหม้ในป่ามากที่สุด เป็นแหล่งต้นตอสำคัญ แหล่งกำเนิดมลพิษอื่นๆ เขามีแผนงานจัดการลดปัญหาในระหว่างปีกันทั้งนั้น แต่ ในป่า กลับไม่มีอะไรจริงจังก่อนหน้านี้เห็นมีแค่ การทำฝาย ทำแนวกันไฟ และ อบรม เป็นหลัก ..นี่เป็นแผนใช้งบที่ทำกันมายาวนาน จนเป็นรูทีน ของการแก้ปัญหาภาคเหนือ ยุคนี้เรามีดาวเทียม hotspots / burned scars มีไทยโชติ Landsat-8 สามารถดึงข้อมูลมาวิเคราะห์การเกิดไฟ พฤติกรรมการไหม้ลาม และปัญหาการเข้าไปจัดการ ในแต่ขอบเขตป่า มันต้องมีกระบวนการนี้ เพื่อป้องกันปัญหารอบใหม่ แต่ยังไม่เห็นว่ามี (หรือมีก็ไม่บอกกล่าวเผยแพร่สาธารณะ)
.
3. ถอดบทเรียนระดับชุมชน/ตำบล
.
ด้วยปัญหาราชการแบบแท่ง มีพื้นที่อาณาจักรตัวเองห้ามหน่วยอื่นเข้าไปยุ่ง ดังนั้น หน่วยอปท. และชุมชนชาวบ้าน จึงเป็นของแปลกปลอมของระบบแผนราชการระหว่างปี แต่พอไฟมา เรียกกำนันผญบ./อปท. ให้ไปช่วยดับ.. ตาาาหลอดการถอดบทเรียนระดับชุมชนและตำบล ที่ไหนเริ่มได้ให้เริ่มเลย เพราะวาระแห่งชาติ63 บอกไว้เองว่า เร่งรัดกระจายอำนาจถ่ายโอนภารกิจจัดการไฟให้ อปท. ภารกิจของ อปท.และชุมชนข้อ 3./ นี้ ให้บูรณาการร่วมกับภารกิจหน่วยงานหลัก ตามข้อ 2./และให้เกิดแผนชุมชนจริงๆ ขึ้นมา นั่นคือ มีการทำขอบเขตพรมแดนหมู่บ้าน ที่ปัจจุบันไม่มี /การให้ชุมชนและตำบลทำแผนร่วมจัดการไฟ เสนอข้อปัญหาและความต้องการอุปกรณ์เครื่องใช้
.
4. เร่งรัดความชัดเจนระเบียบ/ภารกิจ ของอปท.
.
ปัจจุบันยังรอคณะกรรมการกระจายอำนาจ ที่มี รองฯวิษณุ ดูแล ให้ความชัดเจนกับ อปท. ว่าจะมีงบกลางหนุนให้ เพื่อให้เกิดกลไกการทำงานจริงในพื้นที่ (งานนี้รอง ประวิตร ต้องคุยกับ รองฯ วิษณุ)
.
5. ทำแผนปฏิบัติการพิเศษสำหรับเขตไฟใหญ่ 5 เขต
.
ได้แก่ เขตไฟใหญ่รอบทะเลสาบเขื่อนภูมิพล / เขตไฟใหญ่รอยต่อ ลำพูนตากเชียงใหม่ / เขตไฟใหญ่พรมแดนตะวันตกแม่สะเรียง / เขตไฟใหญ่ปางมะผ้าปาย / เขตไฟใหญ่แม่แจ่ม น้ำขาน แม่โถ อันนี้มีแล้วและมีความคืบหน้า แต่ก็ยังต้องลงดูรายละเอยด ปีที่ผ่านมา รัฐเอาเผาเองเป็นแสนไร่ ลดลงได้ไหม เพิ่มประสิทธิภาพจัดการเชื้อเพลิงเป็น ตย.ได้ไหม
.
6. เร่งรัดระบบข้อมูลข่าวสาร
.
information จำเป็นสำหรับประชาชน เพิ่มการรายงานข้อมูลเฉพาะแต่ละแอ่ง น่าน แพร่ พะเยา ลำปาง ฯลฯ ทิศทางลมใหญ่ / ลมพื้นผิว 10-50 ม. ซึ่งแต่ละแอ่งมีลักษณะเฉพาะ ความเร็วลมพื้นผิวสำคัญมากสำหรับการจัดการ / ค่า ventilation rate รายวันของแต่ละแอ่ง ว่าวันนี้ยกตัวแค่ไหน /
.
7. เร่งรัดติดตั้งเครื่องวัดคุณภาพอากาศขนาดเล็กให้ครอบคลุม
.
ไม่ใช่แค่ทุกอำเภอ แต่ควรไปติดที่ แหล่งไฟใหญ่หรือไฟประจำด้วย อย่างเช่น ที่บ้านก้อ ลี้ ลำพูน หากไม่มีเครื่องวัดขนาดเล็กตั้งไว้ เราจะไม่รู้เลยว่าที่นั่นหนักมาก เพราะเครื่องวัดตัวใหญ่อยู่ที่ตัวเมือง ส่วนตัวเล็กอยู่ที่ตัวอำเภอลี้ ซึ่งไม่สะท้อนปัญหาในแอ่งตำบล
.
8. ปรับระบบเบิกจ่าย งปม. ทำความเข้าใจกับ สำนักงบฯ
.
ฎีกาโครงการป้องกันต่างๆ เช่น ทำแนวกันไฟ ต้องมาก่อนอย่างน้อยมกราคมต้องครบ เพราะทางปฏิบัติบางปีมากุมภาฯ บางหน่วยประกาศจัดจ้างเอกชนทำแนว ไม่ทัน และโกงกันก็มีนี่เป็นเรื่องที่รัฐต้องไปคุยกันเอง
.
9. ให้เกิดมีแบบแผนความเข้าใจกลาง
.
ว่า มาตรการอะไรที่เคยทำแล้วไม่ได้ผล เช่น ระดมฉีดน้ำขึ้นฟ้า ? ถ้าฉีดๆ ที่แนวป่าได้ไหม ? โดยเฉพาะป่าที่อยู่ระหว่างปฏิบัติการเผชิญเหตุ บางท่านบอกไม่ได้ ข้ามเขตภารกิจอำนาจหน้าที่ รถน้ำเลยต้องฉีดในเมือง
.
10. งานข่าวและการจัดการมวลชนเชิงรุก
.
แต่ละพื้นที่มีตัวจี๊ด ตัวป่วน และมือเผา จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ให้เกิดมีการจัดการเชิงบวก พร้อมงบประมาณไว้สำหรับการนี้ จะดึงมาทำงานมีเบี้ยเลี้ยง หรือเชิญไปอบรมเพิ่มอาชีพอะไรก็ว่าไป
.
11. เร่งรัด คทช.
.
เปลี่ยนการผลิตไปสู่ยั่งยืนไม่ใช้ไฟโดยเร็วในระหว่างฝน บางจว.มีหน่วยดองเรื่อง ไม่คืบ / ถ้ามีการรายงานความคืบหน้าระหว่างปี จะเห็นว่า การแก้ปัญหารากเหง้าของภาคเหนือไม่คืบ
.
12. ใช้กลไกป่าชุมชนให้เป็นประโยชน์
.
ให้เงินงบประมาณ ให้เกิดมีกลไกช่วยป้องกันดูแลเขตป่าตรงนั้น มีเจ้าภาพจริงจริงจัง จะช่วยลดไฟได้อีกเป็นแสนไร่
.
13. ทำตารางบัญชีจัดการเชื้อเพลิงภาคเกษตร
.
กลุ่ม A B C แบบไหนต้องเผาให้ใช้ไฟ แบบไหนชะลอก่อน แบบไหนไม่อนุญาต
.
14. อบรมการบริหารจัดการเชื้อเพลิง ( prescribe burning )
.
ให้บุคลากร ก่อนมกราคม 65
.
15. ให้ทุกจว. มีหน่วยสื่อสารกับสาธารณะรายวัน
.
ในระหว่างวิกฤตมลพิษ 3 เดือน ของแบบนี้ต้องเตรียมนะ
.
