“เราจะไม่มีวันยอม” หลังอุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ ประกาศทับพื้นที่ป่าชุมชน..
นี่เป็นคำที่ชาวบ้านห้วงบง ตำบลทาเหนือ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ เกริ่นนำก่อนเริ่มเปิดวงพูดคุยในวันนั้น
.
ป่าชุมชนที่นี่ สร้างรายได้กว่า 50 ล้านบาท/ปี
.
9,631 ไร่ คือพื้นที่ทั้งหมดของป่าชุมชนบ้านห้วงบง ตำบลทาเหนือ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่ง แยกเป็น พื้นที่อนุรักษ์ 7,463 ไร่ (77%) และป่าใช้สอย 2,168 ไร่ (23%) การเป็นทั้งแหล่งอาหาร หาเห็ด หน่อไม้ สมุนไพร ไม้ การใช้น้ำ และการเลี้ยงสัตว์ แต่ละปีสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านที่นี่ไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท หรือ เฉลี่ยไร่ละ 5 พันบาท ชาวบ้านเล่าว่า นี่คือหนึ่งในความสำเร็จของการจัดการป่าชุมชนของชาวบ้าน ตั้งแต่ 2503 ที่ช่วยกันดูแลรักษา ไม่ให้ไฟป่าเข้า ภายใต้ระเบียบกติกาที่ชุมชนร่วมกันกำหนด นอกจากนี้จากการศึกษาและสำรวจยังพบอีกว่า ใน 1 ปี สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 2.6 ล้านตัน/ปี (127,800 ตันต่อปี)
.
.
เรายังคงมีสิทธิ์ แม้จะถูกประกาศเขตอุทยานทับ
.
ป่าชุมชนที่นี่ ถูกจัดตั้ง เมื่อ 27 กรกฎาคม 2560 ตามมาตรา 100 ของ พ.ร.บ.ป่าชุมชน โดยกรมป่าไม้ แต่ต่อมากลับพบว่ามีการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ทับซ้อน เมื่อดูตามมาตรา 103 ที่ระบุว่า มิให้นำกฎหมายอุทยานและคุ้มครองสัตว์ป่า มาบังคับใช้ หากยึดตาม พ.ร.บ.ฯ แม้ว่าชาวบ้านจะยังคงมีสิทธิ์เช่นเดิม แต่แกนนำชุมชนและชาวบ้านก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ และกลัวว่าอนาคตอาจจะสร้างผลกระทบ มีข้อจำกัดหรือไม่สามารถทำกิจวัตรเมื่อปัจจุบันได้อีก กำนัน-ผู้ใหญ่ จึงได้ร่วมกันฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อให้มีคำสั่งคุ้มครอง และให้มีการยกเลิก พ.ร.บ.ประกาศเขตอุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ ฉบับล่าสุด โดยมีทีมกฎหมาย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นที่ปรึกษา (ปัจจุบันมีการเรียกสอบเอกสาร แล้ว 1 ครั้ง เบื้องต้นพบว่า เอกสารแผนที่แนบท้ายของอุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ผิดพลาดและคลาดเคลื่อน)
.

.
“ช่วยดับที” สายเรียกเข้า และขอทุกปี
.
แกนนำชุมชน สะท้อนในวงพูดคุยว่า ใครไม่เชื่อให้มาดูได้เลย ป่าที่ชุมชนดูแลกับป่าเขตอุทยานฯ วันนี้ต่างกันอย่างไร ใครสมบูรณ์กว่ากับ และหนึ่งอย่างที่แตกต่างและเห็นได้ชัดเจน คือความเอาใจใส่ เช่นในช่วงที่เกิดไฟป่า ชุมชนแทบจะไม่เห็นหน้าเจ้าหน้าที่ฯ เลย มีแต่สายโทรเข้า แจ้งขอให้ผู้นำชุมชน ส่งคนเข้าไปช่วยเข้าไปดับโดยด่วน จะเป็นแบบนี้ทุกๆปี ถ้าชาวบ้านไม่ช่วยคงลามไหม้ทั่วหมดป่า เราช่วยเหลือทุกอย่างเท่าที่ทำได้
.

.
แผน 5 ด้าน จัดการป่าชุมชน
.
อนุรักษ์ ฟื้นฟู ดูแล การพัฒนา และการใช้ประโยชน์ นี่คือหัวข้อ(ร่าง)แผนจัดการป่าชุมชนที่เรากำลังจะเสนอ ซึ่งล้วนเป็นกิจกรรมที่ชุมชน ทำกันมาต่อเนื่องอยู่แล้ว ภายใต้ระเบียบ กติกา ที่คนในชุมชนยอมรับ มีการรับฟังเสียงสะท้อน และต้องผ่านประชาคมหมู่บ้าน ในการฟื้นฟู มีการเพิ่มพื้นที่ซับน้ำด้วยการปลูกกล้วยบริเวณที่เคยเป็นตาน้ำ ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีน้ำกลับมาอีกครั้ง ไม่เพียงเท่านั้น ยังร่วมกันพัฒนาเส้นทางที่ใช้ในการลาดตะเวร ฟื้นฟูฝายกักเก็บน้ำ และทำแนวกันไฟ 20 กว่ากิโลเมตร รอบแนวเขตป่าชุมชนเป็นประจำทุกปี ทั้งหมดนี้ชุมชนทำกันเอง สนับสนุนกันเอง และยังไม่มีคณะกรรมป่าชุมชน ที่ได้รับการรับรองหรือแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ
.

.
นายวิสัน ปัญญากาด นักวิชาการเกษตร อบต.ทาเหนือ อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ เล่าว่า ป่าชุมชนบ้านห้วยบง สามารถทำได้ดีในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะเรื่องของการจัดการปัญหาหมอกควันไฟป่า ตามกติกาตามระเบียบข้อบังคับของชุมชน และทำได้ดีกว่าที่หน่วยงานทำ มีความคาดหวังในการทํางาน พร้อมที่จะพิสูจน์ศักยภาพของตนเอง และอยากจะชี้ให้ชัดพื้นที่ที่ทับซ้อนกับกรมป่าไม้ ให้เกิดความชัดเจนการทำงานในอนาคตข้างหน้าจะไม่มีปัญหากัน ชาวบ้านเองไม่ได้ปฏิเสธขีดขวางเรื่องของการทำงานแบบมีส่วนร่วม และพร้อมที่จะทำงานร่วมกับทุกหน่วยงาน (ซึ่งการกำหนดใช้พื้นที่ป่าในเขตอุทยาน ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน ในการใช้ประโยชน์ และการบริหารพื้นที่ป่า) ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่กำกิน พื้นที่บริหารจัดการของชุมชน และการใช้ประโยชน์ไม่เป็นไปตามระเบียบของอุทยาน เช่น กรณีประชาภูเขาของหมู่บ้านที่อยู่ในเขตอุทยาน ทำให้เกิดปัญหาตามมา
.
แต่ขณะที่มี พ.ร.บ.ป่าชุมชน 2562 ขึ้นมา ก็มีบทบัญญัติต่างๆ ซึ่งชุมชนพยายามใช้ประโยชน์จาก พ.ร.บ.ป่าชุมชน ฉบับนี้ เพื่อมาหนุนเสริมการทำงานของชุมชน การจัดการป่าชุมชน และได้สรุปถอดบทเรียนที่ผ่านมา นำมาเขียนเป็นแผนต่างๆ 5 ด้าน และผลึกดันให้เกิดแผนการจัดการป่าชุมชนในรูปแบบใหม่ๆที่ดีกว่าเดิม เสนอต่อคณะกรรมการป่าชุมชนระดับจังหวัด เพื่อให้คณะกรรมการรับรองและสามารถนำไปปฏิบัติได้ตาม พ.ร.บ.ป่าชุมชน ซึ่งต้องมีตัวแทนจากหน่วยงานส่วนท้องถิ่นและนักวิชาการ เข้ามาร่วมรับรองแผนด้วย ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถมีผลบังคับใช้ได้อย่างถูกต้องตามพ.ร.บ.
.
เตรียมความพร้อม “จัดตั้งคณะกรรมป่าชุมชน”
.
การพูดคุยในครั้งนี้ ทั้งเรื่องการจัดทำแผน และเตรียมจัดตั้งคณะกรรมการป่าชุมชน เป็นการเตรียมความพร้อม ยังไม่เห็นว่าอนุบัญญัติ และยังไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการป่าชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ ชุมชนจึงยังจะเห็นผลดี-ผลเสีย ที่จะเกิดขึ้น แต่ก็จะเสนอแผนในแบบที่เราถนัดและทำกันมาตลอดอยู่แล้ว และพร้อมที่จะปรับให้เข้ากับระเบียบข้อบังคับ เท่าที่ทำได้ ยึดประโยชน์ของชุมชนเป็นสำคัญ หรือต้องผลกระทบน้อยที่สุด ทั้งนี้ก็ต้องรอให้มีความชัดเจนกว่านี้
.

นายเดโช ไชยทัพ ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ) และ ประธานคณะทำงานด้านป่าไม้และที่ดินในพื้นที่ป่า ภายใต้คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นควันจังหวัดเชียงใหม่แบบบูรณาการและมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน กล่าวว่า ปัญหาไฟป่าฝุ่นควันหลักการสำคัญคือ การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นหลักการสำคัญ จะต้องได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีขีดความสามารถสูงขึ้น ไม่ใช่การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติหน้าที่เฉพาะกิจชั่วครั้งชั่วคราว และให้มีคุณภาพสูงขึ้น จะส่งผลทำให้ประสิทธิภาพในการดูแลจัดการไฟฟ้าสูงขึ้นด้วย และเครื่องมือที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับหรือการทำให้สิทธิในการดูแลจัดการที่มีส่วนร่วมมัน ไม่ใช่แค่ช่วยทำตามสิ่งที่คิด แต่ทำให้ชาวบ้าน “ความรู้สึกเป็นเจ้าของ รักและหวงแหนป่า ให้เกิดความยั่งยืน ” แล้วมีตัวติดตามตัวชี้วัดที่บอกได้ชัดเจนว่าปีนี้ดีกว่าปีหน้าแล้ว จะดีขึ้นตามลำดับเมื่อชาวบ้านเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ
.
เครื่องมืออีกตัวหนึ่งที่สำคัญคือ กฎหมายป่าชุมชน ซึ่งให้สิทธิ์ในการดูแลจัดการร่วมกับหน่วยงานอื่น แล้วสามารถทำแผนในการจัดการได้อย่างรอบด้าน ตั้งแต่การปกป้อง อนุรักษ์ ฟื้นฟู การควบคุม และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้การมีส่วนร่วมในการจัดการไฟป่าฝุ่นควัน เริ่มจากการมีส่วนร่วมแบบผิวเผิน นำไปสู่การมีส่วนร่วมเชิงคุณภาพประชาชนสามารถใช้สิทธิ์ของชุมชนร่วมกับฝ่ายวิชาการ คนในเมือง ข้าราชการ และนักธุรกิจ เพื่อที่จะบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ที่ต่างจากสั่งการให้ทำตาม ความหวังในการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการไฟป่าจะมีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการจัดการแบบ Zero Bruning หรือว่า File Management ต้องกระจายอำนาจให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม “พ.ร.บ.ป่าชุมชน จึงเป็นเครื่องมือมีสำคัญที่เป็นการให้สิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย” และเป็นยุทธศาสตร์เชิงรุก กรรมการป่าชุมชนใช้เป็นประโยชน์จากตัว พ.ร.บ.ป่าชุมชน ได้

.
หลายเรื่องเป็นเรื่องใหม่ที่ชุมชนยังไม่รับรู้รับทราบกฎหมายป่าชุมชนก็มีความก้าวหน้า แต่อาจจะยังมีรายละเอียดบางอย่างที่ยังก้าวหน้ายังไม่พอ ซึ่งผู้บริหารหรือฝ่ายกำหนด ก็ไม่อยากให้เห็นว่ามันมีข้ออ่อน ข้อบกพร่อง บังคับใช้ได้เฉพาะ ไม่สอดคล้องกับที่เป็นอยู่ เพราะป่าชุมชนในระดับอนุบัญญัติออกง่ายไม่ต้องเข้าสภาอยู่แค่ระดับกระทรวง หรือบางอันก็อยู่ที่ระดับกรม หรือว่างั้นก็อยู่ที่ระดับคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นอํานาจบริหารเป็นส่วนใหญ่ ไม่ใช่เรื่องเหลือบ่ากว่าแรง ที่จะลองทำ และถ้าไม่สอดคล้องจริงๆ สัก 2-3 ปี อาจจะเสนอให้ปรับปรุงให้สอดคล้อง แต่ในวันนี้นำเอาสิ่งที่มีอยู่มาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์กับการบริหารจัดการที่แท้จริง
.
ความก้าวหน้าของการจัดการไฟป่า คือความก้าวหน้าของสังคม ความก้าวประชาชน และความก้าวหน้าของหน่วยงาน โดยมีเครื่องมือใหม่ๆที่มาหนุนเสริม โดยเฉพาะกฎหมายป่าชุมชนที่เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม และส่งเสริมให้ชาวบ้านดูแลรักษาป่า อนุรักษ์ฟื้นฟูป่า ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นความมุ่งหวังให้เห็นชุมชนตั้งใจจะทำ และอยากให้ทุกคนทุกฝ่ายมาร่วมใช้ พ.ร.บ.ป่าชุมชน เป็นเครื่องมือในการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงในหลายๆเรื่อง

