เพชรบูรณ์…เมืองในหมอก(ควัน) ปัญหาที่รอการแก้ 

ทีมข่าว WEVO สื่ออาสาได้คุยกับ นายปัณณทัต ปานเงิน เลขาธิการหอการค้าจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อย้อนฟังการต่อสู้ของภาคประชาชน ในการลุกขึ้นมาคัดค้านการก่อสร้างโรงงานน้ำตาล แห่งที่ 3 ของจังหวัดเพชรบูรณ์ ขณะที่ข้อมูลสถิติปี 2563 สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ยังพบว่าจังหวัดเพชรบูรณ์อยู่ใน ลำดับที่ 1 จังหวัดที่มีจุดความร้อนมากที่สุด และมีพื้นที่เผาไหม้ หรือ Burn Scar อยู่ในลำดับที่ 3 ของประเทศ รองจากจังหวัดลำปาง และจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ปัณณทัต ปานเงิน เลขาธิการหอการค้าจังหวัดเพชรบูรณ์

.

เพชรบูรณ์…เมืองในหมอก(ควัน)
นายปัณณทัต ปานเงิน เล่าว่า จังหวัดพชรบูรณ์ มีพื้นที่ทำการเกษตรราว 1.5 ล้านไร่ แยกเป็นพื้นที่ปลูกอ้อย ราว 6 แสนไร่ แต่ละปีในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต เกษตรกรจะเลือกใช้วิธีการเผา โดยในช่วงดังกล่าวของทุกปี จะเกิดปัญหามลพิษทางอากาศส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยได้ฉายาว่า เมืองในหมอก

เอกชนกว๊านซื้อที่ดิน 250 ไร่ เตรียมก่อสร้างฯ
ย้อนไปปี 2562 ในพื้นที่โซนเหนือของจังหวัดเพชรบูรณ์ เตรียมจะมีโครงการก่อสร้างโรงงานน้ำตาล (โรงที่ 3) ของกลุ่มภาคเอกชนรายใหญ่ ที่บ้านห้วยใหญ่ หลังกว๊านซื้อที่ดินไปแล้วกว่า 250 ไร่ ซึ่งหลายภาคส่วนกังวัลว่า จะส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากพื้นที่โซนเหนือของจังหวัด เป็นพื้นที่ท่องเที่ยว และพื้นที่ทำการเกษตร ขณะที่ด้านภูมิศาสตร์ มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ มีภูเขาล้อมรอบ อากาศถ่ายเทค่อนข้างลำบาก ในนามกลุ่มคนรักบ้านเกิดจังหวัดเพชรบูรณ์ และ สํานึกรักษ์ห้วยใหญ่ จึงร่วมกันออกแถลงการณ์ ถึงเรียน ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ และข้าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ทุกภาคส่วน (15 มกราคม 2563) โดยมีข้อเสนอให้ทางจังหวัดฯ แก้ไข 4 ข้อ คือ 

  1. ท่านต้องออกคําสั่งห้ามบริษัทเอกชนเข้าส่งเสริมการปลูกอ้อยในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ 
  2. ห้ามเพิ่มพื้นที่การปลูกอ้อยในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อลดการเพิ่มพื้นที่เสี่ยงเผาอ้อยลง 
  3. ลดพื้นที่การเพาะปลูกอ้อยลง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีปัญหาหนักเพื่อลดปริมาณพื้นที่เผาให้ลดลง 
  4. เพื่อครวจเช็คสภาพอากาศ ต้องติดตั้งจุดตรวจ PM 2.5 ทุกอําเภอเพื่อระมัดระวังอันตรายที่จะก่อเกิดกับประชาชนใน และ 
  5. และเรียกร้องให้มีการทํา EIA ทั้งอําเภอเมืองเพชรบูรณ์ กรณีที่จะมีการสร้างโรงงานน้ําตาลและโรงงานไฟฟ้าชีวมวล นอกจากนี้ยังมีกลุ่มพี่น้องสื่อสารมวลชน ได้ยื่นข้อเสนออื่นๆ เพื่อให้ทางจังหวัดเพชรบูรณ์เร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวอีกด้วย

.

สิ่งที่เกิดข้อกังขา ก็คือ การปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการฯ เลี่ยงที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ ขณะเดียวกันยังสวนทางกับนโยบายของรัฐบาล ที่อนุญาตให้ทางโรงงานน้ําตาลรับซื้ออ้อยสด (ไม่เผา) 50% พร้อมอ้อยเผา 50%

ภาพข่าวจาก ThaiPBS วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563

ในพื้นที่ 250 ไร่ วันนี้ยังเงียบ
หลังในช่วงดังกล่าว มีการนำเสนอข่าวจนกลายเป็นประเด็นทางสัมคม ชาวบ้านในพื้นที่ตำบลห้วยใหญ่ ต่างไม่เห็นด้วย เรื่องการก่อสร้างโรงงานน้ำตาลฯ ก็เงียบไป ซึ่งจนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีใครทราบว่าล้มเลิกไปแล้วหรือไม่ ในพื้นที่ 250 ไร่ ก็ยังเงียบ

.

2 โรงงาน ก็น่าจะพอแล้วกับกำลังการผลิต
จากการตรวจสอบกำลังการผลิตของโรงงานน้ำตาลทั้ง 2 แห่ง ที่มีอยู่ เก็น่าจะเพียงพอแล้ว ที่ผ่านมาเคยตั้งคำถามไปยังโรงงานในวงประชุมหลายครั้ง ว่าเหตุผลไหน ซึ่งต้องการขยายโรงงานฯเพิ่ม ในเมื่อพื้นที่ทำการเกษตรก็มีกำกัด แต่ก็ยังไม่ได้รับคำตอบ

ภาพถ่ายจากดาวเทียม Landsat-8 แสดงรอยไหม้บนพื้นดิน (burned scars) ของ 17 จังหวัดภาคเหนือระยะ 5 เดือน (ม.ค.-พ.ค.2564) โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน):GISTDA

.

อันดับ 1 จุดความร้อน(เหนือล่าง) อันดับ 3 พื้นที่เผาไหม้
ประเด็นนี้เราไม่ได้นิ่งนอนใจ หลายภาคส่วนในพื้นที่ก็มีการขับเคลื่อนร่วมกันอยู่ ในสมัยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดฯ คนก่อน มีความชัดเจนกว่าตอนนี้ เรามีความพยายามในการให้จังหวัดบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 19 ฉบับ

.

ยื่นหนังสือถึงมือนายก แต่ผิดหวังกับคำชี้แจง
ในปี 2563 กลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดจังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมกับ สำนักหอการจังหวัดเพชรบูณ์ เคยยื่นหนังสือถึงมือ พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในช่วงที่มี ครม.สัญจร เพื่อให้มีแผนการแก้ปัญหาเรื่องนี้ แต่สุดท้ายก็ต้องผิดหวังกับเอกสารตอบกลับ เพราะเป็นเพียงการชี้แจงผู้ร้องเรียน ว่าอยู่ระหว่างการดำเนินการ ขณะที่แนวทางการปฏิบัติไก็ไม่มีความชัดเจนแต่อย่างใด

กลุ่มคนรักบ้านเกิดและสำนึกรักษ์ห้วยใหญ่ ยื่นหนังสือต่อนายสืบศักดิ์ เอี่ยมวิจารณ์ ผู้ว่าฯ เพื่อให้เร่งหามาตรการแก้ไขปัญหา PM2.5 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2563

เตรียมจะยื่นโนติส (NOTICE) ???? จากการประชุมร่วมกับสำนักงานหอการค้าจังหวัดเพชรบูรณ์ เบื้องต้นมองตรงกันว่า เตรียมจะยื่นโนติส ไปยังรัฐบาล เพื่อจะถามว่ามีมาตราการป้องกันและลดการเผาอย่างไร จากปี 2562-2563 ที่เคยอนุญาตให้เผาอ้อย ได้ 50% ปี 2564-2565 ปริมาณการรับซื้ออ้อยเผา จะลดลง หนุนให้รับซื้อเฉพาะอ้อยที่ไม่เผาทั้งหมด รวมไปถึงพื้นที่การเกษตรที่ต้องใช้ไฟให้เข้มงวดกว่าเดิม หรือมีแนวข้อกฎหมายที่เข้มข้นขึ้นกว่าเดิมหรือไม่ และมีนโยบายที่ชัดเจน ซึ่งกำลังติดตามข้อมูลจากส่วนที่เกี่ยวข้อง ว่าที่ผ่านมาทำได้จริงมากน้อยแค่ไหน

.

ตอนนี้เพชบูรณ์ เครื่องวัดคุณภาพ PM2.5 มีเพียงแค่ 2 เครื่อง

เพชบูรณ์มีเครื่องวัดคุณภาพ แค่ 2 เครื่องของภาครัฐ ที่อำเภอวิเชียร์บุรี และอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ อย่างน้อยควรจะมีเครื่องวัดอากาศอำเภอละหนึ่งเครื่อง ทั้ง 11 อำเภอ ถ้าจะให้ดีต้องให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ทุกตำบลควรมี เพื่อให้ประชาชนได้เฝ้าระวังผลกระทบด้านสุขภาพ

#เพื่อลมหายใจภาคเหนือ

WEVO NEWS

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

เห็ดปลอดเผา ก้อโมเดล พลัส+ ภาคีเครือข่ายแม่ปิงตอนใต้ ร่วมกันช่วยแก้ปัญหาฝุ่นควันไฟ อช.แม่ปิง

วันที่ 30 พฤษภาคม 2566 ก้อโมเดล พลัส+ ภาคีเครือข่ายแม่ปิงตอนใต้ ความพยายามดึงความร่วมมือหลายฝ่ายเข้าไปร่วมด้วยช่วยแก้ปัญหาฝุ่นควันไฟ อช.แม่ปิง ทั้งด้านอาชีพเศรษฐกิจปลอดเผา และด้านท่องเที่ยว เปลี่ยนจาก …

อ่านเพิ่มเติม →

สิ่งที่แต่ละจังหวัดต้องเปลี่ยน 2567 ทำแบบเดิมไม่ได้

สิ่งที่แต่ละจังหวัดต้องเปลี่ยน 2567 ทำแบบเดิมไม่ได้ บรรยายโดย บัณรส บัวคลี่ ฝ่ายข้อมูลและผลักดันนโยบาย เครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ

อ่านเพิ่มเติม →