ศูนย์อนามัยที่ 1 เผยเครื่องวัดคุณภาพอากาศยังไม่ครอบคลุมและไม่สะท้อนสถานการณ์จริง

28 กันยายน 2564 ณ ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และภาคีเครือข่าย ดำเนินการพัฒนาระบบเฝ้าระวังฝุ่นควัน เขตสุขภาพที่ 1 เพื่อตอบโต้สถาการณ์สื่อสารความเสี่ยงและสร้างความรอบรู้ ให้กับประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและลดผลกระทบฝุ่นละอองขนาดเล็ก จัดประชุมหารือขับเคลื่อนการดำเนินงานเฝ้าระวังและป้องกันผลกระทบจากฝุ่นละอองขนาดเล็กในจังหวัดเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2565 โดยมี ผู้แทนจาก ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CCDC CMU) ศูนย์เฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียวผ่อดีดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สภาลมหายใจจังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์สารสนเทศชีวการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คลินิกมลพิษ โรงพยาบาลนครพิงค์ เข้าร่วม

.

ในที่ประชุม ผู้แทนจาก ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ ชี้ว่าปัจจุบันเครื่องตรวจวัดค่าคุณภาพอากาศยังไม่เพียงพอ ขณะที่เครื่องวัดคุณภาพอากศมาตราฐาน (Air4Thai) อยู่แต่ในเขตเมือง 1-4 จุด/จังหวัด ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ มูล PM 2.5 ไม่สะท้อนสถานการณ์จริงของอำเภอและตำบล ที่อยู่รอบนอกเขตเมือง ขณะที่ประชนส่วนใหญ่และกลุ่มเสี่ยง ยังขาดข้อมูลสถานการณ์ในการที่จะปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันและลดผลกระทบต่อสุขภาพ 

เอกสารประกอบการประชุม ระบุว่า ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน มีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากศมาตราฐาน (Air4Thai) ทั้งหมดเพียงแค่ 15 จุด แยกเป็น เชียงราย 2 จุด, เชียงใหม่ 4 จุด, ลำปาง 3 จุด, น่าน 2 จุด ส่วน ลำพูน แม่ฮ่องสอน แพร่ และพะเยา มีเพียงจังหวัดละแค่ 1 จุด และเมื่อดูเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ แม้ว่าจะมีข่ายเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศ อีก 2 ข่าย คือ ของคณะวิทยาศาสตร์ และ ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งก็พบว่าทาง ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ ยังไม่ได้นำมารวมในรายงานด้วย ซึ่งก็ยังไม่คลุมในทุกตำบล

.

นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้นำเสนอความคืบหน้า ระบบเฝ้าระวังและสื่อสารความเสี่ยงฝุ่นควันอัตโนมัติ แนวทางการพัฒนาอำเภอต้นแบบ/ตำบลต้นแบบฯ การใช้“แพล็ตฟอร์มไฮบริดข้อมูล PM2.5” ร่วมกับการบริหารจัดการเชิงสุขภาพระดับพื้นที่ และระบบข้อมูลห้องปลอดฝุ่น“โครงการห้องปลอดฝุ่นอุ่นใจ” จากความร่วมมือของภาคีฯ ที่ทำงานด้านฝุ่นควัน

.

นางสาวสุรีรัตน์ ตรีมรรคา รองประธานคณะกรรมการอำนวยการสภาลมหายใจเชียงใหม่ ได้สะท้อนความคิดเห็นในที่ประชุมว่า ระบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน ถือว่าใช้งานดี แต่ต้องยอมรับว่ายังไม่สามารถขยายผลต่อได้ โดยเฉพาะข้อมูลระบบเตือนภัยสุขภาพอย่างระบบของ Smoke Alert ที่ทำออกมาได้ระดับหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่มีการสื่อสารออกสู่สาธารณะ ไม่มีการประชาสัมพันธ์ขยายผลให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลเรื่องผลกระทบด้านสุขภาพที่เชื่อมโยงกัน ซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาก เข้าใจว่ายังมีข้อจำกัดเรื่องระบบฐานข้อมูล รวมไปถึงยังไม่มีงบประมาณที่จะเข้ามาหนุนเสริมหากเป็นไปได้ ก็อยากให้เกิดระบบชุดข้อมูลของแต่ละเครือข่าย รวมอยู่ที่เดียว และใช้แบบเดียวกันทั่วทั้งจังหวัด ส่วนการเก็บข้อมูลผลกระทบด้านสุขภาพจากฝุ่น PM2.5 ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรจะทำต่อ

.

.

อย่างไรก็ตามวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษ ด้านฝุ่นละออง” ในมาตรการที่3 ข้อที่ 3.1 พัฒนาเครือข่ายการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ เครือข่ายที่ว่าอยู่ในทั้งมาตรการระยะสั้น (พ.ศ. 2562 – 2564) และมาตรการระยะยาว (พ.ศ. 2565 – 2567) ให้ดำเนินงานต่อเนื่องเพื่อขยายเครือข่ายการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศและให้ท้องถิ่นติดตามตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่ของตนเอง พัฒนาศักยภาพของท้องถิ่นในการดำ เนินการติดตามการตรวจสอบคุณภาพอากาศเพื่อให้มีการเฝ้าระวังสถานการณ์ในพื้นที่ ล่าสุดยังมีแค่จังหวัดใหญ่ อย่างเชียงใหม่เท่านั้นที่มีระบบและเครือข่ายที่ครอบคลุม 

.

ทั้งนี้ภายในเดือนตุลาคม 2564 นี้จะรวบรวมข้อมูลที่มีคุณประสิทธิภาพและข้อเสนอในที่ประชุมนำเสนอระดับจังหวัด ต่อคณะกรรมการป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่นควันจังหวัดเชียงใหม่ และให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่สนับสนุนและเป็นศุนย์กลางของฐานข้อมูล

.

#เพื่อลมหายใจภาคเหนือ

WEVO NEWS

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

เห็ดปลอดเผา ก้อโมเดล พลัส+ ภาคีเครือข่ายแม่ปิงตอนใต้ ร่วมกันช่วยแก้ปัญหาฝุ่นควันไฟ อช.แม่ปิง

วันที่ 30 พฤษภาคม 2566 ก้อโมเดล พลัส+ ภาคีเครือข่ายแม่ปิงตอนใต้ ความพยายามดึงความร่วมมือหลายฝ่ายเข้าไปร่วมด้วยช่วยแก้ปัญหาฝุ่นควันไฟ อช.แม่ปิง ทั้งด้านอาชีพเศรษฐกิจปลอดเผา และด้านท่องเที่ยว เปลี่ยนจาก …

อ่านเพิ่มเติม →

สิ่งที่แต่ละจังหวัดต้องเปลี่ยน 2567 ทำแบบเดิมไม่ได้

สิ่งที่แต่ละจังหวัดต้องเปลี่ยน 2567 ทำแบบเดิมไม่ได้ บรรยายโดย บัณรส บัวคลี่ ฝ่ายข้อมูลและผลักดันนโยบาย เครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ

อ่านเพิ่มเติม →