คณะกรรมการฯ ส.ว. หารือแนวทางแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า พื้นที่รอยต่อจังหวัด และพื้นที่ไหม้ซ้ำซากในภาคเหนือตอนบน

2 พฤศจิกายน 2564 คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ดร.พลภัทร เหมวรรณ ผอ.ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศภาคเหนือ และคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมประชุมออนไลน์ กับพลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ประธานคณะกรรมาธิการทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมวุฒิสภา , ผู้แทนจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และ เครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ เพื่อหารือถึงแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าในพื้นที่รอยต่อจังหวัด และพื้นที่ใหญ่ที่เกิดการเผาไหม้ซ้ำซากในภาคเหนือตอนบน โดยมีผู้แทนจาก GISTDA ภาคเหนือ ให้ข้อมูล ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และปัญหาอุปสรรค ในการผลักดันการแก้ไขปัญหาหมอกควันเชิงประจักษ์ สู่การมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน

.

.

.

ในที่ประชุม สภาลมหายใจภาคเหนือ เสนอประเด็นเร่งด่วน 3 ข้อต่อสมาชิกวุฒิสภาพพบประชาชนในเขตภาคเหนือตอนบน เพื่อป้องกันปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 ภาคเหนือปี 2565 เร่งคุมพื้นที่ 4 แปลงใหญ่ไหม้ซ้ำซาก 1.5 ล้านไร่ พร้อมประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมพิเศษ และสร้างกลไกการปกป้อง ประซาชน โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดหาเครื่องฟอกอากาศให้ประชาชนยืม และแจกหน้ากากแบบกันฝุ่น N95 หรือ KN95  พร้อมดันให้เกิดการแก้ปัญหาเบ็ดเสร็จยั่งยืน

.

นายวิทยา  ครองทรัพย์ ผู้ประสานงานสภาลมหายใจภาคเหนือ ได้นำเสนอข้อมูลการศึกษาสาเหตุปัญหาฝุ่นควันภาคเหนือล่าสุด พบว่ามีปัญหาพื้นที่แปลงใหญ่ที่เกิดเหตุการเผาซ้ำซาก ในห้วงเวลาเดิม โดยเฉพาะผลการวิเคราะห์จากคณะทำงานวิชาการเฉพาะกิจเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารจัดการไฟป่าและการเผาในที่โล่งเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี พบว่าตำแหน่งพื้นที่เผาไหม้ซ้ำซาก 2553-2563 ที่ควรได้รับการแก้ไขมีสี่กลุ่มรวมพื้นที่ 1.5 ล้านไร่ ได้แก่ 1. พื้นที่แม่ปิง+อมก๋อย+แม่ตื่น  581,872 ไร่ 2. ลุ่มน้ำปาย   212,000 ไร่ 3. สาละวิน  515,075 ไร่ และ4. เขื่อนศรีนครินทร์  166,689 ไร่

.

.

.

โดยทางเครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ ได้นำเสนอแนวทางการแก้ไข 3 ประเด็นคือ 1. การตั้งคณะทำงานเพื่อเข้าควบคุมฟื้นที่ต้นทางของการเผาแปลงใหญ่ในภาคเหนือตั้งแต่ช่วงต้นปี 2565 จนผ่านพ้นช่วงวิกฤติ 2. การสร้างกลไกเตรียมการป้องกันการเผาที่จะเกิดขึ้นประมาณกลางเดือน กุมภาพันธ์ 2565ซึ่งเป็นชวงอากาศเริ่มปิด เช่น ให้เป็นพื้นที่ควบคุมพิเศษ และ 3. การสร้างกลไกปกป้อง ประซาชน เช่น การให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดหาเครื่องฟอกอากาศ ให้ ประชาชนยืมและการสนับสนุนแจกหน้ากากแบบกันฝุ่น N95 หรือ KN95 ในที่ประชุมด้วย

.

ขณะที่พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ประธานคณะกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา กล่าวว่าการแก้ไขปัญหาควรมองว่าปัจจุบันได้ใช้เครื่องมือสอดคล้องกับขนาดปัญหาหรือไม่ ที่สำคัญคือต้องแก้ไขที่ต้นเหตุแต่ละแหล่ง และควรเข้มงวดกับใช้การบังคับใช้กฎหมายให้สอดคล้อง เช่น กฎหมายป้องกันสาธารณภัย รวมถึงการใช้วิธีการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันแต่ละแหล่งรวมถึงการพิจารณาเรื่องกฎหมายอากาศสะอาดในอนาคต

.

ข่าว : อาคม สุวรรณกันธา

#เพื่อลมหายใจเชียงใหม่

WEVO NEWS

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

เห็ดปลอดเผา ก้อโมเดล พลัส+ ภาคีเครือข่ายแม่ปิงตอนใต้ ร่วมกันช่วยแก้ปัญหาฝุ่นควันไฟ อช.แม่ปิง

วันที่ 30 พฤษภาคม 2566 ก้อโมเดล พลัส+ ภาคีเครือข่ายแม่ปิงตอนใต้ ความพยายามดึงความร่วมมือหลายฝ่ายเข้าไปร่วมด้วยช่วยแก้ปัญหาฝุ่นควันไฟ อช.แม่ปิง ทั้งด้านอาชีพเศรษฐกิจปลอดเผา และด้านท่องเที่ยว เปลี่ยนจาก …

อ่านเพิ่มเติม →

สิ่งที่แต่ละจังหวัดต้องเปลี่ยน 2567 ทำแบบเดิมไม่ได้

สิ่งที่แต่ละจังหวัดต้องเปลี่ยน 2567 ทำแบบเดิมไม่ได้ บรรยายโดย บัณรส บัวคลี่ ฝ่ายข้อมูลและผลักดันนโยบาย เครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ

อ่านเพิ่มเติม →