เชียงใหม่ บูรณาการเครื่องวัดคุณภาพอากาศ หาแนวทางแจ้งเตือนภัยสุขภาพ

26 พฤศจิกายน 2564 จังหวัดเชียงใหม่ ประชุมหารือแนวทางแจ้งเตือนประชาชนจากเครื่องวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ณ ห้องประชุมสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งเเวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชน เข้าร่วมแลกเปลี่ยน

โดย นายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ มอบหมายให้ นายอิสระ ศิริไสยาสน์ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานการประชุมในครั้งนี้

.

จังหวัดเชียงใหม่ มีแอพพลิเคชั่นและเว็บไซต์ที่แจ้งเตือนเกี่ยวกับคุณภาพอากาศในหลายฐานข้อมูลด้วยกัน

.

  • Air4Thai ของกรมควบคุมมลพิษ
  • aqi-thai.com ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ได้พัฒนาร่วมกับหน่วยงานเอกชน
  • CMU CCDC ซึ่งสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้การสนับสนุน
  • PM2_5.nrct.go.th หรือ แอพพิเคชั่น AQIC ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • NTAQHI พัฒนาต่อมาจาก CMAQHI ของ ศ. ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญและทีมงาน IT ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับ รศ. ดร. พิศิษฐ์ สิงห์ใจ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

.

ในที่ประชุมสะท้อนว่า จังหวัดเชียงใหม่จะใช้เครือข่ายเครื่องวัดคุณภาพอากาศไหนเป็นหลักที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว ที่มีความเสถียร เชื่อถือได้ และอยากจะให้มีการชี้แจ้ง อธิปายให้ประชาชนได้ทราบถึงค่าฝุ่นที่เกิดขึ้น ทำไมค่าฝุ่นถึงสูง มันเกิดจากสาเหตุอะไร

ในเบื้องต้น aqi-thai.com และ CMU CCDC พร้อมที่จะนำข้อมูลของแต่ละหน่วยงานมาบูรณาการร่วมกัน เพื่อให้เป็นแหล่งข้อมูลเพียงชุดเดียว โดย

  • PM2_5.nrct.go.th
  • พร้อมที่จะเป็นแพลตฟอร์มกลางในการรวบรวมฐานข้อมูลเครือข่ายเครื่องวัดคุณภาพอากาศ โดยให้ประชาชนเลือกใช้ระบบการแจ้งเตือนได้ทั้งแบบค่ามาตราฐานแบบของไทย และค่ามาตราฐานแบบสากล

    .

    หนึ่งในหน่วยงานที่หลายฝ่ายจับตาและให้ความสนใจ คือ คณะแพทย์ มช. ที่มีพัฒนาเว็ปแอพ NTAQHI ที่เป็นแอพพิเคชั่นแจ้งเตือนดัชนีคุณภาพอากาศเพื่อสุขภาพชาวเชียงใหม่ ได้รับรู้คุณภาพอากาศในพื้นที่ทั้งแบบเวลาจริงรายนาที ทุกๆชั่วโมง แบบค่าเฉลี่ยใน 24 ชม.ที่ผ่านมา และคำเตือนเพื่อลดความเสี่ยงจากผลกระทบของมลพิษอากาศต่อสุขภาพ โดยใช้เกณฑ์คุณภาพค่ามาตราฐานฝุ่นแบบสากล หรือแบบของประเทศสหรัฐอเมริกา (The United States Environmental Protection Agency หรือ EPA) แต่ก็ไม่มีการส่งผู้แทนมาเข้าร่วมฯ โดยที่ประชุมระบุว่า อาจเกิดจากการประสานงานที่ล่าช้า และกระชั้นชิดเกินไป

    .

    ที่ประชุมยังมีการหารือถึงการยกระดับค่าฝุ่น เกณฑ์คุณภาพอากาศค่ามาตรฐาน PM2.5 เฉลี่ย 24 ชม. รวมไปถึงการแสดงแทบสีและคำแนะนำสำหรับประชาชนในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ เบื้องต้นที่ประชุมเห็นร่วมกันว่า ควรใช้มาตราฐานเดิมต่อไป คือ 50 มคก./ลบ.ม. เฉลี่ย 24 ชม. เพราะยังไม่มีแผนการทำงานรองรับ การแจ้งเตือนดัชนีคุณภาพอากาศเพื่อสุขภาพชาวเชียงใหม่ จะใช้เกณฑ์คุณภาพค่ามาตราฐานฝุ่นแบบสากล หรือ (US) และเกณฑ์คุณภาพค่ามาตราฐานของไทย

    แต่การแจ้งเตือนประชาชน ปริมาณค่าฝุ่น PM2.5 เฉลี่ยรายชั่วโมง ควรนำเสนอแบบตรงไปตรงมาโดยใช้ค่ามาตรฐานแบบอเมริกา (US) คำแจ้งเตือนผลกระทบต่อสุขภาพก็จะเป็นมาตรฐานสากลมากขึ้น เริ่มต้นจากอากาศดี อากาศปานกลาง ซึ่งจะต่างจากเดิมที่เคยใช้คำว่า อากาศดีมากและอากาศดี เมื่อปริมาณค่าฝุ่น PM2.5 เริ่มเกิน 20-35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรจะเตือนว่า คุณภาอากาศอยู่ระดับปานกลาง จะทำให้ประชาชนเริ่มตระหนัก ต้องเตรียมดูแลสุขภาพ

    .

    #เพื่อลมหายใจภาคเหนือ

    WEVO NEWS

    เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

    เห็ดปลอดเผา ก้อโมเดล พลัส+ ภาคีเครือข่ายแม่ปิงตอนใต้ ร่วมกันช่วยแก้ปัญหาฝุ่นควันไฟ อช.แม่ปิง

    วันที่ 30 พฤษภาคม 2566 ก้อโมเดล พลัส+ ภาคีเครือข่ายแม่ปิงตอนใต้ ความพยายามดึงความร่วมมือหลายฝ่ายเข้าไปร่วมด้วยช่วยแก้ปัญหาฝุ่นควันไฟ อช.แม่ปิง ทั้งด้านอาชีพเศรษฐกิจปลอดเผา และด้านท่องเที่ยว เปลี่ยนจาก …

    อ่านเพิ่มเติม →

    สิ่งที่แต่ละจังหวัดต้องเปลี่ยน 2567 ทำแบบเดิมไม่ได้

    สิ่งที่แต่ละจังหวัดต้องเปลี่ยน 2567 ทำแบบเดิมไม่ได้ บรรยายโดย บัณรส บัวคลี่ ฝ่ายข้อมูลและผลักดันนโยบาย เครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ

    อ่านเพิ่มเติม →