30 พฤศจิกายน 2564 ณ มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา สภาลมหายใจพะเยาประชุมติดตามและวางแผนการดำเนินงานปี 2565 โดยมีสมาชิกสภาลมหายใจเยา และภาคีเครือข่ายเข้าร่วมแลกเปลี่ยน

นายประยูร เผ่าเต็ม ตัวแทนสภาองค์กรชุมชน 36 ตำบล ได้กล่าวว่า สภาองค์กรชุมชน มีการยกระดับการแก้ไขปัญหาหมอกควันฝุ่น PM2.5 เป็นวาระของท้องถิ่นที่ให้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟูป่าชุมชน สนับสนุนเครื่องอัดฟางกับเกษตรกร ร่วมไปถึงการสนับสนุน การจัดการขยะและเศษวัชพืช ส่วนการสนับสนุนการจัดตั้งดูแลป่าชุน และป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่า โดยเฉพาะ ตำบลต๋อม และตำบลออย มีการจัดการดูแลและเฝ้าระวังไฟป่า การปลูกป่าทดแทน และการนำใบไม้ มาอัดเป็นจานแปรรูป
.
นายปริญญาโศภิตภิญโญ ผู้อำนวยการส่วนสิ่งแวดล้อมสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพะเยา ได้กล่าวในที่ประชุมว่า ในปี 65 นี้ เครือข่ายทสม. จะต้องมีการขอสนับสนุนงบประมาณให้อาสาสมัครโดยผ่านทางกองทุนสิ่งแวดล้อม อาจจะเป็นงบสนับสนุนต่อเนื่อง 2-3 ปี และทสม. จะเป็นอีกหนึ่งเครือข่ายที่เข้าร่วมกับสภาลมหายใจพะเยาสามารถเป็นกำลังหลักช่วยเหลือในด้านต่างๆได้โดยเฉพาะด้านพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน อีกส่วนหนึ่งคือการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดได้มีการจัดตั้งหน่วยเฝ้าระวัง ลาดตะเวน อาสาสมัครทุกหมู่บ้าน ให้อำเภอเป็นศูนย์บูรณาการดับไฟป่าและฝุ่นควัน ในช่วงที่มีมาตราการประกาศงดเผาทางจังหวัด รวมไปถึงให้การรณรงค์ประชาสัมพันธ์งดการเผา
.
พัฒนาข้อเสนอต่อการทำงานสภาลมหายใจพะเยา
- รวบรวมข้อมูลแผนหน่วยงานและเครือข่าย ในภารกิจของการดำเนินงาน ในปี 65 การลดฝุ่นควันและไฟป่า
- การสร้างคุณค่า ผลิตภัณฑ์ ของสภาลมหายใจพะเยา เช่น การทำดินและปุ๋ยที่มีคุณภาพและสร้างสินค้าและใช้สอยจากวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร
- การสร้างงานวิชาการให้สามารถเปรียบเทียบ รายได้และสุขภาพของการดำเนินงานบางส่วน เช่น การไถกลบหรือ เกษตรอินทรีย์
- การพัฒนาทีมสื่อและการสื่อสาธารณะในการรวบรวมผลงานและการดำเนินงานเด่นในพื้นที่
- การส่งเสริมนวัตกรรมและผลผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้ารายได้
.
ในที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันว่า แผนดำเนินการงานในปี 65 นี้ ทุกแผนที่สภาลมหายใจพะเยานำเสนอ จะนำเข้าไปสู่ที่ประชุมระดับจังหวัด เพื่อผลักดันให้บรรจุอยู่ในแผนยุทธศาสตร์จังหวัด
- การส่งเสริมพัฒนาอาสาสมัครคนรุ่นใหม่
- การพัฒนาพื้นที่รูปธรรมและขับเคลื่อนนโยบายจังหวัด นำร่องในพื้นที่ 4 ตำบลให้เป็นพื้นที่ต้นแบบ และสื่อสารให้กับประชาชน โดย สวท.พะเยา
- นวัตกรรมลดเศษวัขพืช ลดฝุ่นควัน PM2.5 การเชื่อมกับนักวิชาการ และมหาลัย เช่น การส่งเสริมเครื่ออัดใบไม้ การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากใบไม้ และขยายต่อยอดให้เป็นสินค้าผลิตภัณฑ์ของชุมชนสู่ระดับอุสาหกรรม
- ระดมทุนเข้ากองทุน : กองทุนรักต้นไม้ใหญ่เพื่อลมหายใจพะเยา
- การรณรงค์สื่อสารสาธารณะ สร้างการรับรู้และมีส่วนร่วมของสภาลมหายใจพะเยา
