เชียงใหม่ โฟกัส 65 ตำบล ตั้งเป้าลดจุดความร้อนอีก 20% พร้อมจัดทำแนวกันไฟยาว 1,700 กิโลเมตร

นายสมคิด ปัญญาดี ผู้อำนวยการส่วนยุทธศาสตร์ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยถึงแนวทางการดำเนินงานแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จังหวัดเชียงใหม่ แบบบูรณาการ ในปี 2565 ว่า ในส่วนของแผนบูรณาการเริ่มต้นที่ทุกหมู่บ้านของจังหวัดเชียงใหม่ต้องทำแผนปฏิบัติการให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2564 (กำหนดให้เสร็จเสร็จในวันที่ 17 ธ.ค. 64) โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับแผนการจัดทำแนวกันไฟ แผนการลาดตระเวน แผนการปลูกป่าทำฝาย แผนการจัดการป่าชุมชน การจัดชุดลาดตระเวนประจำหมู่บ้านๆ ละ 25 คน แผนการบริหารจัดการเชื้อเพลิง

.

.

“แผนงานที่สอง มีการกำหนดเป้าหมายในการลดจุด Hot Spot ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลโดยให้ทุกพื้นที่อำเภอลดจุด Hot Spot ลดลงไม่น้อยกว่า 20% จากจำนวนจุด Hot Spot ของปีที่ผ่านมา โดยจังหวัดเชียงใหม่มุ่งเน้นในพื้นที่ 65 ตำบล เสี่ยงที่เกิดจุด Hot Spot ในปีที่ผ่านมา โดยให้ทุกอำเภอ ทุกตำบล ออกคำสั่งจัดตั้งคณะทำงานในระดับอำเภอ ระดับตำบล” นายสมคิดฯ กล่าว

.

.

ผอ.ส่วนยุทธศาสตร์ กล่าวอีกว่า การเก็บข้อมูลในระดับตำบล ให้ทุกตำบลเก็บข้อมูลการเกิดไฟไหม้ ทั้งจุด Hot Spot และพื้นที่เผาไหม้ เพื่อนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกับข้อมูลของจิสด้า รวมถึงให้ทุกองค์การบริหารส่วนตำบลในทุกพื้นที่จัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ดับเพลิงไฟให้เพียงพอและพร้อมใช้ในทุกตำบล โดยให้ประกอบกำลังชุดละ 10 คน เพื่อเสริมชุดดับไฟของหมู่บ้าน โดยจัดให้มีการฝึกอบรมการดับไฟกับชุดเสือไฟหรือเหยี่ยวไฟเพื่อให้สามารถเข้าเผชิญเหตุได้“

.

นอกจากนี้ยังหมู่บ้านเป้าหมายจัดทำแนวกันไฟร่วมกับหน่วยงานป่าไม้ รวมระยะทางราว 1,710 กิโลเมตร พร้อมกับจัดให้มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนตระหนักรู้ในเรื่องสาธารณสุข การแจ้งเตือนประชาชน โดยนำ อสม. มาร่วมการรณรงค์ ทั้งนี้ให้ทุก อปท. ได้จัดหาหน้ากากกันฝุ่น PM2.5 พรัอมกับจัดอาสาป้องกันไฟป่าอย่างเข้มข้น” ผอ.ส่วนยุทธศาสตร์ฯ กล่าว

.

สำหรับช่วงวิกฤติที่ต้องเผชิญเหตุการณ์ให้ทุกพื้นที่จัดตั้งศูนย์บัญชาการกำกับติดตามทั้งในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบล โดยใช้แอพพลิเคชั่นเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ ใช้โดรน ใช้อากาศยาน โดยให้ทุกหน่วยใช้ข้อมูล บริหารจัดการบูรณาการข้อมูลเป็นฐานเดียวกัน โดยรวบข้อมูลมาไว้ที่ศูนย์บัญชาการจังหวัดและให้ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้ร่วมกันในการปฏิบัติในระดับพื้นที่“ส่วนการบริหารจัดการเชื้อเพลิงนั้นยังจะใช้แอพพลิเคชั่นมาช่วยในการบริหารจัดการ มีแผนที่ชัดเจนในการจัดการ ด้านงบประมาณใช้ทั้งจากงบประมาณจังหวัด กลุ่มจังหวัด อบจ. อปท. โดยไม่ใช้ซ้ำซ้อนกัน รวมถึงการระดมทุนจากภาคส่วนองค์กรต่างๆ วิสาหกิจเพื่อสังคม และบริษัทห้างร้านขนาดใหญ่” นายสมคิดฯ กล่าว

.

ช่วงหลังวิกฤติ หรือช่วงฟื้นฟู สร้างความชุ่มชื้น จะมีการจัดทำฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน จำนวน 900 ฝาย จัดทำแนวกันไฟเขียว (Green Belt) จำนวน 700 ไร่ ปลูกป่าและฟื้นฟูป่ารวมไปถึงพืชไม้ท้องถิ่น จำนวน 150 ไร่ สำหรับหมู่บ้านที่ควบคุมไฟได้ดี พอช. จะสนับสนุนเป็นหมู่บ้านมั่นคง และจัดทำแผนพัฒนาอย่างยั่งยืนหลังการเกิดวิกฤต“

.

จังหวัดเชียงใหม่ได้แบ่งหมู่บ้านต่างๆ จากการเกิดจุดความร้อน หรือ Hot Spot ในปีที่ผ่านมาออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มแรก พื้นที่สีขาว เป็นตำบลที่ไม่มีจุดความร้อน จำนวน 78 ตำบล กลุ่มที่ 2 พื้นที่สีเขียว ตำบลที่มีจำนวนจุดความร้อน 1- 49 จุด จำนวน 76 ตำบล กลุ่มที่ – พื้นที่สีเหลือง ตำบลที่มีจำนวนจุดความร้อน 50 – 99 จุด จำนวน 19 ตำบล กลุ่มที่ ภ พื้นที่สีส้ม ตำบลที่มีจำนวนจุดความร้อน 100 – 149 จุด จำนวน 14 ตำบล กลุ่มที่ 5 พื้นที่สีแดง ตำบลที่มีจำนวนจุดความร้อน 150 – 199 จุด จำนวน 8 ตำบล และกลุ่มที่ 6 พื้นที่สีแดงเข้ม ตำบลที่มีจำนวนจุดความร้อนมากกว่า 200 จุด จำนวน 9 ตำบล พื้นที่สีแดงเข้มจนถึงสีเขียวที่มีจุด Hot Spot ตั้งแต่ 30 จุดขึ้นไป จะเป็นพื้นที่ตำบลเป้าหมาย 65 ตำบล ในปี 2565 นี้” นายสมคิด ปัญญาดี ผอ.ส่วนยุทธศาสตร์ฯ กล่าว

.

.

ทั้งนี้จังหวัดเชียงใหม่ ได้ออกประกาศจังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง กำหนดเขตควบคุมไฟป่าและมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมไฟป่าในเขตป่าไม้ โดยกำหนดให้พื้นที่ทุกหมู่บ้าน/ตำบล/อำเภอ ในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็น “เขตควบคุมไฟป่า” และออกประกาศจังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง มาตรการป้องกันการจุดไฟเผาในที่โล่งและพื้นที่การเกษตร ซึ่งได้ออกประกาศให้มีผลไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 64 ที่ผ่านมา

.

ที่มา : ศูนย์บัญชาการป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กpm2.5จังหวัดเชียงใหม่
#เพื่อลมหายใจเชียงใหม่

WEVO NEWS

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

เห็ดปลอดเผา ก้อโมเดล พลัส+ ภาคีเครือข่ายแม่ปิงตอนใต้ ร่วมกันช่วยแก้ปัญหาฝุ่นควันไฟ อช.แม่ปิง

วันที่ 30 พฤษภาคม 2566 ก้อโมเดล พลัส+ ภาคีเครือข่ายแม่ปิงตอนใต้ ความพยายามดึงความร่วมมือหลายฝ่ายเข้าไปร่วมด้วยช่วยแก้ปัญหาฝุ่นควันไฟ อช.แม่ปิง ทั้งด้านอาชีพเศรษฐกิจปลอดเผา และด้านท่องเที่ยว เปลี่ยนจาก …

อ่านเพิ่มเติม →

สิ่งที่แต่ละจังหวัดต้องเปลี่ยน 2567 ทำแบบเดิมไม่ได้

สิ่งที่แต่ละจังหวัดต้องเปลี่ยน 2567 ทำแบบเดิมไม่ได้ บรรยายโดย บัณรส บัวคลี่ ฝ่ายข้อมูลและผลักดันนโยบาย เครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ

อ่านเพิ่มเติม →