เปิดแผน ทภ.3 แบ่ง 19 รอยต่อทั่วภาคเหนือ มอบหน่วยงานรับผิดชอบช่วงหมอกควันไฟป่า

เมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2565 ที่ผ่านมา จากสถานการณ์โรคโควิด-19 ในจังหวัดเชียงใหม่ที่แพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้กองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาคหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า ตัดสินใจงดจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาพื้นที่รอยต่อจังหวัดและพื้นที่ไหม้ซ้ำซาก ประจำปี 2565 ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 11 ม.ค. 2565 โดยเปลี่ยนเป็นให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องส่งข้อมูลแผนการแก้ไขปัญหาพื้นที่รอยต่อจังหวัดและพื้นที่ไหม้ซ้ำซากให้กับทางกองบัญชาการฯ แทน

.

อย่างไรก็ตาม แผนที่แบ่งมอบพื้นที่รอยต่อจังหวัดและพื้นที่ไหม้ซ้ำซาก ซึ่งส่งมาพร้อมกับหนังสือแจ้งยกเลิกการจัดการสัมมนา ก็แสดงให้เห็นว่ามีการกำหนดพื้นที่เขตรอยต่อและหน่วยงานที่จะทำหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่ไว้แล้ว

.

.

โดยแผนที่เล่มนี้แสดงให้เห็นถึงพื้นที่เฝ้าระวังรอยต่อระหว่างจังหวัดในภาคเหนือ จำนวน 19 รอยต่อ ที่เป็นเป้าหมายในการดำเนินการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองในภาคเหนือ ประจำปี 2565 แบ่งเป็นพื้นที่รอยต่อใน 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน จำนวน 14 รอยต่อ และพื้นที่รอยต่อใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 5 รอยต่อ พร้อมทั้งระบุชื่อหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในพื้นที่ดังกล่าว

.

ทั้งนี้ในส่วนของพื้นที่รอยต่อใน 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน จำนวน 14 รอยต่อ ประกอบด้วย

.

1. รอยต่อ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย กับ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง (อุทยานแห่งชาติดอยหลวง) พื้นที่รับผิดชอบของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 (สบอ.15)

.

2. อ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่า อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ พื้นที่รับผิดชอบของมณฑลทหารบกที่ 33 (มทบ.33)

.

3. รอยต่อ อ.สามเงา จ.ตาก กับ อ.ลี้ จ.ลำพูน (อุทยานแห่งชาติแม่ปิง) พื้นที่รับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติแม่ปิง

.

4. รอยต่อเขตชายแดน จ.ตาก กับ จ.แม่ฮ่องสอน พื้นที่รับผิดชอบของกองกำลังนเรศวร, สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14 (สบอ.14) ตาก, สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่16 (สบอ.16) สาขาแม่สะเรียง, สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 (สปจ.4) ตาก และสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (สจป.1) สาขาแม่ฮ่องสอน

.

5. รอยต่อ จ.ตาก กับ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน พื้นที่รับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติแม่เงา และสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (สจป.1) สาขาแม่ฮ่องสอน

.

6. รอยต่อ จ.เชียงใหม่ กับ จ.ตาก (อมก๋อย) พื้นที่รับผิดชอบของเขตรักษาพันธุ์สัตวป่าอมก๋อย / สถานีควบคุมไฟป่าอมก๋อย

.

7. รอยต่อ จ.ตาก กับ จ.เชียงใหม่ (เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น) พื้นที่รับผิดชอบของเขตรักษาพันธุ์สัตวป่าแม่ตื่น และสถานีควบคุมไฟป่าแม่ตื่น

.

8. รอยต่อเขตชายแดน จ.เชียงใหม่, จเชียงราย, จ.พะเยา และ จ.น่าน พื้นที่รับผิดชอบของกองกำลังผาเมือง, สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (สบอ.13), สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 (สบอ.15), สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (สบอ.16), สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (สจป.1), สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 2 (สปจ.2) และสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 (สปจ.3) สาขาแพร่

.

9. รอยต่อ อ.เมือง จ.พะเยา กับ อ.วังเหนือ, อ.งาว จ.ลำปาง พื้นที่รับผิดชอบของสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 2 (สปจ.2) และสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 (สบอ.15)

.

10. รอยต่อ อ.ปง จ.พะเยา กับ อ.ท่าวังผา จ.น่าน พื้นที่รับผิดชอบของสํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (สบอ.13) และสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 (สบอ.15)

.

11. รอยต่อ อ.เชียงม่วง จ.พะเยา กับ อ.ลอง จ.แพร่ และ อ.บ้านหลวง จ.น่าน พื้นที่รับผิดชอบของสํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (สบอ.13), สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 (สบอ.15) สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 2 (สปจ.2) และสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 (สปจ.3)

.

12. รอยต่อ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง กับ อ.วังชิ้น จ.แพร่ (อุยานเวียงโกศัย) พื้นที่รับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย และสํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (สบอ.13)

.

13. รอยต่อ อ.เด่นชัย จ.แพร่ กับ จ.อุตรดิตถ์ (อุทยานลำน้ำน่าน) พื้นที่รับผิดชอบของอุทยานลำน้ำน่าน

.

14. รอยต่อ จ.ลำปาง กับ จ.ตาก (อุทยานแห่งชาติแม่วะ) พื้นที่รับผิดชอบของอุทยานแห่งขาติแม่วะ

#เพื่อลมหายใจภาคเหนือ

WEVO NEWS

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

เห็ดปลอดเผา ก้อโมเดล พลัส+ ภาคีเครือข่ายแม่ปิงตอนใต้ ร่วมกันช่วยแก้ปัญหาฝุ่นควันไฟ อช.แม่ปิง

วันที่ 30 พฤษภาคม 2566 ก้อโมเดล พลัส+ ภาคีเครือข่ายแม่ปิงตอนใต้ ความพยายามดึงความร่วมมือหลายฝ่ายเข้าไปร่วมด้วยช่วยแก้ปัญหาฝุ่นควันไฟ อช.แม่ปิง ทั้งด้านอาชีพเศรษฐกิจปลอดเผา และด้านท่องเที่ยว เปลี่ยนจาก …

อ่านเพิ่มเติม →

สิ่งที่แต่ละจังหวัดต้องเปลี่ยน 2567 ทำแบบเดิมไม่ได้

สิ่งที่แต่ละจังหวัดต้องเปลี่ยน 2567 ทำแบบเดิมไม่ได้ บรรยายโดย บัณรส บัวคลี่ ฝ่ายข้อมูลและผลักดันนโยบาย เครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ

อ่านเพิ่มเติม →