การลักลอบข้ามพรมแดนของฝุ่นควัน

รายการสถานีฝุ่นได้สำรวจรูปแบบลักษณะการเคลื่อนตัวของมวลอากาศจากประเทศพม่าเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พบว่าลมทั้ง 3 ระดับได้พัดมาทางประเทศไทย ซึ่งอาจจะส่งผลซ้ำเติมให้คุณภาพอากาศในภาคเหนือย่ำแย่หนักเข้าไปอีก แต่อย่างไรก็ดี จุดความร้อนสะสมที่เกิดในประเทศเพื่อนบ้านเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้นที่ทำให้เกิดความหนาแน่นของมลพิษทางอากาศ สภาวะอุตุนิยมวิทยาเป็นปัจจัยที่ทำให้คุณภาพอากาศของภาคเหนือเลวร้าย เพราะมีอัตราการระบายอากาศในเกณฑ์ที่ไม่ดี

.

ปัญหาหมอกควันไม่ใช่ปัญหาเฉพาะภาคเหนือ วงจรหมอกควันในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเปิดฉากเริ่มต้นในเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน ภาคใต้เป็นพื้นที่เผชิญหมอกควันในช่วงเดือนมิถุนายน – ตุลาคม และภาคกลางตกอยู่ในม่านฝุ่นที่มีผลกระทบต่อสุขภาพตั้งแต่เดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์

.

ดูเหมือนว่าประเทศไทยเผชิญปัญหาหมอกควันตลอดทั้งปี

.

เพื่อนบ้านทางทิศเหนือ

.

หมอกควันไม่ใช่ปัญหาเฉพาะภาคเหนือ แต่เป็นวงจรร่วมของคนทั้งประเทศ และรวมถึงภูมิภาคอาเซียน

.

มลพิษทางอากาศในภาคเหนือตอนบนเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่ายาวนานกว่า 15 ปี คนภาคเหนือป่วยเป็นมะเร็งปอดในสัดส่วนที่สูงกว่าคนทุกภูมิภาค (อ่านเพิ่มเติมได้จาก Dust talk คุยกับ รศ.พญ. บุษยามาส ชีวสกุลยง ปอดของชาติสะท้อนหัวใจของรัฐ )

.

พื้นที่ในภาคเหนือมีปริมาณฝุ่นละอองในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ทําให้พบจํานวนผู้ปวยในกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ โรคตาอักเสบ และโรคผิวหนังอักเสบ รวมถึงโรคมะเร็งปอด ในปี 2556 มีการยกเลิกเที่ยวบินในหลายจังหวัดภาคเหนือจํานวน 158 เที่ยวบิน

.

ในปี 2559 สภาพอากาศบริเวณชายแดนไทย – พม่า อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ปกคลุมไปด้วยหมอกควันไฟจนเกิดภาวะฟ้าหลัว ในปีเดียวกันนั้น สำนักข่าวรายงานว่า เกษตรกรในประเทศกัมพูชาจุดไฟเผาป่าจนลุกลามมายังพื้นที่อําเภอเมือง จังหวัดตราด ส่งผลให้เกิดปัญหาไฟไหม้ป่ายาวนานถึงสองสัปดาห์ และเกิดปัญหาหมอกควันที่ลอยมาตามลม ซึ่งสงผลให้เกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจําวันของประชาชน และปัญหาการสัญจรบนเส้นทางต่างๆ

.

ในเดือนมีนาคม 2560 เกิดไฟไหม้ป่าในเขตประเทศพม่า ลุกลามเข้ามายังพื้นที่อําเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ส่งผลให้เกิดปัญหาหมอกควันจากไฟป่าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

.

มิตรสหายจากทิศใต้

.

ในบางปีของช่วงเดือนกรกฎาคม สิงหาคม และกันยายน ภาคใต้ถูกปกคลุมด้วยม่านหมอกควัน ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการเผาทำลายป่าเพื่อขยายอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในอินโดนีเซีย ในปี 2540 เกิดวิกฤตหมอกควันในอาเซียนจากสาเหตุที่อากาศแห้งร้อนผนวกกับเกษตรกรอินโดนีเซียใช้วิถีถางเผากันมากขึ้น มีการประเมินความเสียหายในระดับภูมิภาคเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 9.3 พันลานเหรียญสหรัฐฯ

.

เดือนสิงหาคม ปี 2559 สํานักงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติของสิงคโปร รายงานว่า ค่าดัชนีมาตรฐานมลพิษทางอากาศของสิงคโปร์ตกอยู่ในระดับที่ไม่ดีตอสุขภาพอนามัย และแนะนําให้ประชาชนลดการทํากิจกรรมนอกสถานที่ และควรสวมใส่หน้ากากอนามัยในกรณีที่ต้องทํากิจกรรมภายนอก

.

สถานการณ์ที่รุนแรงกว่าทุกปีเกิดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน 2556 จังหวัดที่ไดรับผลกระทบมากที่สุด คือ จังหวัดสงขลาและนราธิวาส มีปริมาณฝุนละอองขนาดเล็กในจังหวัดนราธิวาส สูงสุด 129 มคก./ลบ.ม.

.

ปัญหาหมอกควันข้ามแดนส่งผลกระทบต่อการบิน ในปี 2558 มีการยกเลิกเที่ยวบินทั้งไปและกลับในสนามบินหาดใหญ่ สนามบินตรัง สนามบินสุราษฎรธานี

.

อาเซียนทำอะไรกันอยู่

.

วิกฤตหมอกควันที่เกิดขึ้นในภูมิภาคอาเซียนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน เศรษฐกิจ และความสัมพันธระหว่างประเทศ มีการประมาณการกันว่าวิกฤตหมอกควันสร้างความเสียหายให้ภูมิภาคอาเซียนถึง 9,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กลุ่มประเทศสมาชิกจึงได้เริ่มเจรจากันเพื่อจัดทําความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามพรมแดน (ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution – AATHP) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2545

.

ความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน เป็นตราสารทางกฎหมายที่วางรากฐานในการแก้ปัญหามลพิษจากหมอกควัน โดยวางหลักการเอาไว้ 5 ประการ

.

  1. หลักการไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐอื่น แม้ว่าทุกรัฐจะมีอํานาจอธิปไตยในการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรของตนเท่าเทียมกัน แต่ก็มีความรับผิดชอบที่จะต้องทําให้แน่ใจว่ากิจกรรมที่กระทําขึ้นภายในเขตอํานาจอธิปไตยของตนจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐอื่น จึงแสดงให้เห็นว่าอํานาจอธิปไตยก็ยังคงต้องอยู่ภายใต้หลักกฎหมายระหว่างประเทศ
  2. หลักความร่วมมือกําหนดหน้าที่ในการร่วมมือกันระหว่างประเทศเพื่อนบ้านด้วยการปรึกษาหารือ หรือการเจรจาในกรณีที่การปฏิบัติของรัฐอาจจะส่งผลกระทบต่อรัฐบริเวณโดยรอบ รัฐนั้นจะต้องแจ้งให้รัฐอื่นๆ ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบทราบ เพื่อเปิดโอกาสให้มีการปรึกษาหารือกันและเจรจาหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
  3. หลักการใช้ความระมัดระวังล่วงหน้า ในกรณีที่มีความเสี่ยงว่าการประกอบกิจกรรมใด จะก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม จะต้องมีมาตรการระมัดระวังไว้ก่อน เพื่อป้องกันมิให้ความเสียหายเกิดขึ้น หรือลดความรุนแรงของผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น แม้ว่าจะยังไม่มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่าจะเกิดความเสียหายขึ้นอย่างชัดเจนก็ตาม เพราะความเสียหายอาจรุนแรงเกินกว่าที่จะเยียวยาให้กลับคืนดังเดิมได้
  4. หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน รัฐสามารถแสวงหาผลประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติของตน ด้วยการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่มีผลกระทบในทางลบต่อความต้องการของคนรุ่นต่อไปในอนาคต เพื่อให้เกิดผลต่อความคุ้มค่าของทรัพยากร และเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศที่หยุดยั้งความยากจนลงไปได้
  5. หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในการดําเนินการด้านมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน รัฐภาคีควรให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมไปถึงชุมชนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาภาคเอกชน เกษตรกรและวิสาหกิจเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมด้วยตามความเหมาะสม เพื่อให้สามารถมาร่วมกันวางแผนและปฏิบัติ

.

หมอกควันระหว่างประเทศ

.

ปัญหาหมอกควันข้ามแดนเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อทุกประเทศในอาเซียน หลักการทางการเมืองของอาเซียน อย่างหลักการไม่เข้าไปก้าวก่ายและแทรกแซงกิจการภายในของประเทศสมาชิกก็ดูเหมือนจะส่งผลกระทบต่อการจัดการปัญหาหมอกควันข้ามแดน การที่แต่ละประเทศจะต้องรายงานสถานการณ์และข้อมูลให้ประเทศอาเซียนอื่นรับทราบ จึงสัมพันธ์กับอํานาจอธิปไตย ซึ่งทําให้ประเทศผู้่ก่อปัญหาหมอกควันข้ามแดนไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร และส่งผลให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนจึงยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามความตกลง

.

แต่โลกต้องการหาวิธีการใหม่ๆ ในการรับมือกับปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่งอย่างปัญหาหมอกควันข้ามแดน ที่เกี่ยวพันกับชีวิตของผู้คนในหลายมิติ ตั้งแต่สุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

.

นี่คือภัยความมั่นคงของโลกในศตวรรษที่ 21 ซึ่งไม่สอดคล้องกับวิธีการมองโลกแบบเก่าอีกต่อไป หากอาเซียนไม่สามารถจัดการกับมลพิษทางอากาศจากหมอกควันข้ามพรมแดนได้ ความไม่เป็นธรรมด้านสิ่งแวดล้อมต่อประชาชนในแต่ละประเทศก็จะดำรงคงอยู่ต่อไป

.

ข้อมูลอ้างอิง
https://www.greenpeace.org/thailand/story/9597/asean-haze-problem/?fbclid=IwAR3CRUKThVatAI8228BIjevTq3WZCQB_mnrABdz7sW19Ipi2JyG3OAZoBTk
• ปัญหาหมอกควันขามแดน : กรณีศึกษาการจัดการปญหาหมอกควันภายใตความตกลงอาเซียนวาดวยมลพิษ จากหมอกควันขามแดน โดย ฉายะพันธุ์ ระวังสําโรง และคณะ

#เพื่อลมหายใจภาคเหนือ

WEVO NEWS

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

เห็ดปลอดเผา ก้อโมเดล พลัส+ ภาคีเครือข่ายแม่ปิงตอนใต้ ร่วมกันช่วยแก้ปัญหาฝุ่นควันไฟ อช.แม่ปิง

วันที่ 30 พฤษภาคม 2566 ก้อโมเดล พลัส+ ภาคีเครือข่ายแม่ปิงตอนใต้ ความพยายามดึงความร่วมมือหลายฝ่ายเข้าไปร่วมด้วยช่วยแก้ปัญหาฝุ่นควันไฟ อช.แม่ปิง ทั้งด้านอาชีพเศรษฐกิจปลอดเผา และด้านท่องเที่ยว เปลี่ยนจาก …

อ่านเพิ่มเติม →

สิ่งที่แต่ละจังหวัดต้องเปลี่ยน 2567 ทำแบบเดิมไม่ได้

สิ่งที่แต่ละจังหวัดต้องเปลี่ยน 2567 ทำแบบเดิมไม่ได้ บรรยายโดย บัณรส บัวคลี่ ฝ่ายข้อมูลและผลักดันนโยบาย เครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ

อ่านเพิ่มเติม →