26 ธันวาคม 2565 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง ประชุมเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ในพื้นที่ภาคเหนือ ปี 2566 และตรวจติดตามการบริหารจัดการน้ำภาคเหนือ ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ GMS อาคารเจียงฮาย โดยมี นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมข้าราชการและประชาชนร่วมให้การต้อนรับ


.
โดย พล.อ.ประวิตร ระบุว่า ปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง เป็นปัญหาที่รัฐบาลให้ความสำคัญมาโดยตลอด รัฐบาลมีความห่วงใยต่อสถานการณ์ที่นอกจะเกิดความเสียหายแล้วยังส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนโดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ 17 จังหวัดด้วย ซึ่งสาเหตุหลัก มาจากการเผาป่า และการเผาในที่โล่ง ก่อนจะได้มอบนโยบายฯ ให้ส่วนที่เกี่ยวข้อง ขับเคลื่อนตาม “แผนเฉพาะกิจ” เพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ปี 2566 บนหลักการ “สื่อสารเชิงรุก – ยกระดับปฏิบัติการ – สร้างการมีส่วนร่วม” โดยมีรายละเอียดดังนี้
- สร้างความเป็นเอกภาพของข้อมูล ปรับรูปแบบการรายงานข้อมูลและองค์ความรู้ ต่างๆ ให้น่าสนใจ เข้าถึงง่ายเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและตื่นตระหนก
- สร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคประชาชน นำความเห็นของพี่น้อง ประชาชนมาปรับปรุงการทำงานให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
- การป้องกัน และแก้ไขปัญหาต้องเป็นเอกภาพ การรับผิดชอบ กำกับดูแลพื้นที่ต้อง ไม่เกิดช่องว่าง หรือพื้นที่เกรงใจ และต้องไม่เกิดปัญหา ว่าไม่ใช่พื้นที่รับผิดชอบไม่ทำ ไม่ว่าจะเป็น ระหว่างจังหวัด หรือระหว่างหน่วยงาน
- ผู้ว่าราชการจังหวัด บริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ใช้ระบบ Single command มีการจัดทำประกาศจังหวัดในสถานการณ์ต่างๆ การเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ และบูรณาการสั่งการป้องกันและแก้ไขปัญหาทุกพื้นที่/ทุกระดับ ทั้งอำเภอ ตำบล (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) และกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน
- ขอกำชับหน่วยงานหลัก ในการปฏิบัติงาน ดังนี้
- กระทรวงมหาดไทย
• ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย จัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือให้มี
ความพร้อมในการปฏิบัติงานเพื่อเผชิญเหตุ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ และอาสาสมัคร เช่น กรมป่าไม้ และ
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
• ให้กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น มอบหมายเทศบาล และ อบต. สร้าง
ความเข้าใจ และความตระหนัก ให้พี่น้องประชาชนเชื่อมั่น ยอมรับ และร่วมมือในการเฝ้าระวัง
และดูแลรักษา ไม่ให้เกิดปัญหาไฟป่า และการเผาในที่โล่ง
• ให้มีการจัดตั้งอาสาสมัครและครือข่ายป้องกัน และแก้ไขปัญหา/ดับไฟป่า
ระดับชุมชนหรือหมู่บ้าน - กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
• ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ดำเนินการดังนี้
o อำนวยการ/กำกับการ และสนับสนุนให้หน่วยป่าไม้ในพื้นที่รับผิดชอบ
ดูแลป้องกันไฟป่าให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด และประสานอย่างใกล้ชิดกับ
ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ระดับจังหวัด
o ใช้ระบบพยากรณ์ระดับชั้นอันตรายของไฟประเมินความเสี่ยงพื้นที่ ระดม
สรรพกำลังลาดตระเวนเฝ้าระวังการเผาป่าโดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยง หากพบ
ไฟไหม้ ให้เข้าพื้นที่ดับไฟอย่างรวดเร็ว ไม่ให้ลุกลามเป็นวงกว้าง
o บริหารจัดการเชื้อเพลิงแบบครบวงจร ทั้งการจัดทำแนวกันไฟในพื้นที่
เสี่ยงไฟป่า ขยายผลโครงการ “ชิงเก็บ ลดเผา”
o ในช่วงที่มีสถานการณ์ไฟป่ารุนแรง ให้ออกประกาศตามอำนาจกฎหมายที่
เกี่ยวข้อง ห้ามมิให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเข้าไปกระทำการใดๆในพื้นที่ป่า
• ให้กรมควบคุมมลพิษ ดำเนินการดังนี้
o ติดตาม ตรวจสอบ คาดการณ์ ประเมิน และวิเคราะห์สถานการณ์ ไฟป่า
หมอกควัน และฝุ่นละออง ร่วมกับ กรมอุตุนิยมวิทยา และ Gistda พร้อม
สื่อสารไปยังประชาชนอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว
o ประสานกระทรวงต่างประเทศ ขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ปัญหา
หมอกควันข้ามแดน ตามกลไกอาเซียน ผลักดันให้ประเทศสมาชิก
ตั้งเป้าหมายร่วมกันในการลดจุดความร้อน และพื้นที่เผาไหม้
o ติดตามและกำกับการดำเนินงาน ให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อน
วาระแห่งชาติ และแผนเฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ปี
2566 และรายงานผลการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และต่อเนื่อง
• ร่วมกับท้องถิ่น อาสาสมัครและเครือข่ายภาคประชาชน ประชาสัมพันธ์ เฝ้าระวัง
ไม่ให้เกิดการเผาป่า และร่วมดับไฟในกรณีเกิดไฟ - กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
• เฝ้าระวัง ป้องปราม ระงับ ยับยั้ง การเผาในพื้นที่เกษตรกรรมอย่างเคร่งครัด โดย
ประชาสัมพันธ์เชิงรุกสร้างการรับรู้ให้แก่เกษตรกร
• สร้างเครือข่ายเกษตรกรงดการเผา และขยายเครือข่าย เพื่อปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้
เป็นเกษตรปลอดการเผา
• ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุทางการเกษตร สร้างมูลค่า พัฒนาเศรษฐกิจ
ชุมชน บนหลักการ BCG - กระทรวงคมนาคม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
• กำกับดูแล เข้มงวดกวดขัน และบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังกับรถยนต์ และ
จักรยานยนต์ที่ระบายสารมลพิษ หรือควันดำ
• จัดระบบการจราจรให้คล่องตัวในช่วงสภาวะอากาศปิด และประสานเอกชนใน
การช่วยเหลือประชาชนในการตรวจสภาพรถยนต์และเปลี่ยนอะไหล่ราคาถูก - กระทรวงอุตสาหกรรม
• ตรวจสอบ กำกับ ดูแลโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะ
ผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อม ไม่ให้ระบายสารพิษออกสู่บรรยากาศ
• ขยายผล/เพิ่มประสิทธิภาพให้มีการลดการเผาอ้อย ให้บรรลุเป้าหมายและ
มาตรการที่ตั้งไว้ (ตามสถานการณ์ของแต่ละปี) - กระทรวงสาธารณสุข
• ยกระดับการเฝ้าระวัง แจ้งเตือน โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพของ
ประชาชน จัดเตรียมอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยารักษาโรคให้มีความพร้อมในพื้นที่ จัดสถานที่รองรับ
พี่น้องประชาชน หากเกิดสถานการณ์ปัญหาจากฝุ่นละอองที่รุนแรง ให้เพียงพอและครอบคลุมทุก
พื้นที่
• ตรวจสุขภาพ ของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครในพื้นที่เสี่ยงที่ปฏิบัติการในการดับไฟ
ป่า เพื่อให้เกิดการรักษาก่อนการปฏิบัติงานและระวังตัวเองในการปฏิบัติงาน (ป้องกันการสูญเสีย) - กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
• ให้กรมอุตุนิยมวิทยา ติดตามและวิเคราะห์ภาวะอากาศและการสะสมของฝุ่น
ละอองล่วงหน้า เพื่อประสานหน่วยงาน ในการแก้ไขปัญหาและแจ้งเตือนพี่น้องประชาชน ให้เกิด
ความแม่นยำและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการเฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหาได้ทันเวลา
• ให้ Gistda จัดทำและรายงานข้อมูลจุดความร้อนและพื้นที่ไฟไหม้ซ้ำซาก ให้ทัน
ต่อสถานการณ์ และประเมินพื้นที่เสี่ยงเกิดไฟให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้ประกอบการวางแผน
ดำเนินงานและยกระดับมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา รวมทั้งเผยแพร่สู่สาธารณะผ่านช่องทาง
ที่เข้าถึงได้ง่าย และให้บำรุงรักษา พัฒนาต่อยอดระบบบริหารการเผาในที่โล่ง (Burn Check)
อย่างตอเนื่อง เพื่อรองรับการใช้งานของพี่น้องประชาชน - และ กระทรวงกลาโหม
• กองทัพภาคที่ 3 และจังหวัดทหารบก ให้การสนับสนุนกำลังพลเพื่อการสนับสนุน
ภารกิจ ของจังหวัด และร่วมปฏิบัติการกับหน่วยงานและอาสาสมัครโดยเฉพาะการดับไฟป่า
- กระทรวงมหาดไทย
.
จากนั้น พล.อ.ประวิตร และคณะ ได้เยี่ยมชมนิทรรศการและเป็นประธานพิธีปล่อยขบวนคาราวาน การป้องกันและแก้ไขปัญหา 3พื้นที่ “เมือง-ป่า-เกษตรกรรม” และได้พบปะ ทักทาย คณะอาจารย์ นักเรียน พร้อมตรวจเยี่ยมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งขอบคุณและให้กำลังใจการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และอาสาสมัครพี่น้องประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ

