ก.พ.ร.เล็งใช้ OG&MP ระบบราชการแบบเปิด แก้ pm2 5 เชียงใหม่5 แนวทางแก้ไขปัญหา PM 2.5 ตามกรอบ OG&MP 

วันที่ 10 มกราคม 2566

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.) จัดประชุมออนไลน์หารือร่วมกับผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย (Open Government and Meaningful Participation Ecosystem : OG & MP) ในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) จังหวัดเชียงใหม่

.

โดยในที่ประชุมมีมติคัดเลือกพื้นที่สำคัญ ที่เป็นพื้นที่เผาไหม้ซ้ำซาก พื้นที่ป่าอุทยานฯ พื้นที่ชุมชนที่ติดกับพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่เกษตรที่อยู่ในพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ที่มีข้อมูลสนับสนุน และมีฐานการทำงานเดิมอยู่แล้ว เช่น อุทยานแห่งชาติออบหลวง อุทยานแห่งชาติหัวยน้ำดัง ดอยแม่โถ อำเภออมก๋อย อำเภแแม่แจ่ม อำเภอเชียงดาว อำเภอฮอด ฯลฯ 

.

นอกจากนั้นยังมีแนวทางแก้ไขปัญหาปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ตามกรอบ OG&MP

  1. การเปิดเผยข้อมูล : เปิดเผยข้อมูลที่สำคัญ เช่น ค่าฝุ่นในแต่ละพื้นที่แบบ Real Time เป็นประจำทุกวัน ข้อมูลแนวกันไฟ พื้นที่ชิงเผาของภาครัฐ การใช้ประโยชน์จากที่ดิน  แผน งบประมาณ โครงการ งบประมาณกลุ่มจังหวัด เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และเปิดให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด
  2. ตัวชี้วัด : ปรับเปลี่ยนรูปแบบการวัด โดยมุ่งเน้นการวัดผลเชิงคุณภาพ และให้มีการบูรณาการตัวชี้วัดร่วมกันระหว่งฝ่ายปกครองและสาธารณสุข เช่น การวัดพื้นที่เผาไหม้ซ้ำซากทั้งภาคเกษตรและภาคป่าไม้ สุขภาพของประชาชน จำนวนวันที่ค่าฝุ่นเกินค่ามาตรฐาน มากกว่าการวัดเชิงปริมาณ ได้แก่ จำนวนจุดความร้อน (Hotspots) เนื่องจากการวัดเฉพาะจุดความร้อนจะมีปัจจัยแทรกซ้อนอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวเนื่องด้วย เช่น เอลนีโญ ลานีญา จะทำให้ไม่ได้ข้อเท็จจริง ซึ่งในอนาคตจะก่อให้เกิดปัญหาในการประเมินผลของภาคราชการอย่างแน่นอน นอกจากนี้ ควรเพิ่มเติมพื้นที่การวัดผลจากระดับจังหวัด ไปสู่ระดับตำบลและอำเภอด้วย
  3. เทคโนโลยีและนวัตกรรม : จัดทำ Ventilation Map (แผนที่แสดงการระบายอากาศ) เพื่อมุ่งสู่ระบบ Fire Management อย่างเต็มรูปแบบ และนำนวัตกรรมและเทคโลยีมาใช้ เช่น หน้ากากป้องกันฝุ่น ห้องปลอดฝุ่น มุ้งสู้ฝุ่น รวมทั้งติดตั้ง low cost sensor ในทุกตำบล เขตชุมชนใหญ่ และพื้นที่เสี่ยง เพื่อแจ้งเตือนแก่ประชาชนและนำไปสู่การวางแผนการแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที                
  4. องค์ความรู้ : นำองค์ความรู้และงานวิจัยเข้ามาใช้สนับสนุนการทำงานของพื้นที่ เช่น การจำแนกต้นเหตุลและแหล่งกำเนิดมลพิษ การปรับเปลี่ยนพืชเกษตรรูปแบบใหม่ จากพืชเชิงเดี่ยวไปสู่การปลูกไม้ยืนต้นชนิดอื่นทดแทน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและอาชีพ รวมทั้ง การให้ความสำคัญกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของฝุ่นต่อสุขภาพของประชาชน อาทิ เรื่องมะเร็งปอด เป็นต้น นอกจากนี้ควรสนับสนุนงานวิจัยที่ทำให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการปลูกข้าวโพดและพืชชนิดอื่น และนำเสนอให้เห็นข้อดีของการเปลี่ยนรูปแบบในการทำการเกษตร รวมถึงให้การสนับสนุนตั้งแต่การให้องค์ความรู้ไปจนถึงการหาตลาดเพื่อจัดจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตรให้แก่คนในชุมชน
  5. แรงจูงใจ : ส่งเสริมเรื่อง Carbon credit ในพื้นที่ เพื่อเชื่อมโยงกับเรื่อง climate change และ BCGs

.

ทั้งนี้สำนักงาน ก.พ.ร. จะลงพื้นที่เพื่อขยายผลการพัฒนาระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 31 ม.ค. 2566 

.

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.)

#เพื่อลมหายใจภาคเหนือ

WEVO NEWS

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

เห็ดปลอดเผา ก้อโมเดล พลัส+ ภาคีเครือข่ายแม่ปิงตอนใต้ ร่วมกันช่วยแก้ปัญหาฝุ่นควันไฟ อช.แม่ปิง

วันที่ 30 พฤษภาคม 2566 ก้อโมเดล พลัส+ ภาคีเครือข่ายแม่ปิงตอนใต้ ความพยายามดึงความร่วมมือหลายฝ่ายเข้าไปร่วมด้วยช่วยแก้ปัญหาฝุ่นควันไฟ อช.แม่ปิง ทั้งด้านอาชีพเศรษฐกิจปลอดเผา และด้านท่องเที่ยว เปลี่ยนจาก …

อ่านเพิ่มเติม →

สิ่งที่แต่ละจังหวัดต้องเปลี่ยน 2567 ทำแบบเดิมไม่ได้

สิ่งที่แต่ละจังหวัดต้องเปลี่ยน 2567 ทำแบบเดิมไม่ได้ บรรยายโดย บัณรส บัวคลี่ ฝ่ายข้อมูลและผลักดันนโยบาย เครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ

อ่านเพิ่มเติม →